ความเห็น: 2
อนาคตวิชาชีพพยาบาล:มุมมอง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ
เมือวันที่ 4-6 กันยายน 2545 ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมระดับชาติเรื่อง"การพยาบาลชุมชนในระบบสุขภาพใหม่ " ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ ของท่านอาจารย์ ดร วิจิตร ศรีสุพรรณ คณะบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเวลา 12 ปี ที่ได้มีโอกาสนำใช้ คำประกาศพยาบาลชุมชนในระบบสุขภาพใหม่ ณ นครเชียงใหม่ ซึ่งได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการศึกษาเรียนรู้สถานการณ์ การปฏิรูประบบสุขภาพ ของสังคมไทยและร่วมจัดทำข้อเสนอจนเกิดเป็นคำประกาศดังนี้
ภายใต้ความเชื่อร่วมกันที่ว่า พยาบาลชุมชนมีบทบาทสำคัญในการสร้างชุมชนสุขภาวะ (ชุมชนสุขภาพ / ชุมชนเข้มแข็ง) ผ่านการให้บริการสุขภาพในบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ แก่บุคคล ครอบครัวและชุมชน ได้ร่วมสร้างจินตนาการดังนี้
วิสัยทัศน์
"พยาบาลคือกัลยาณมิตรของสังคม เป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การปฏิรูปสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ มีจิตสำนึกที่เห็นความเป็นหนึ่งเดียวของสังคม ทำให้เกิดมิตรภาพและความรักอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์"
โดยมีความมุ่งมั่นคือพันธกิจที่ดำเนินการดังนี้
1.มุ่งร่วมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสามารถดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.มุ่งให้บริการที่มีคุณภาพในการสร้างสุขภาพ ลดการเกิดโรค การเจ็บป่วย และภาวะคุกคามทางสุขภาพ บนหลักฐานที่อ้างอิงได้ สอดคล้องกับบริบททางสังคมวัฒนธรรม ในแต่ละพื้นที่โดยมีการเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน
3.ร่วมสร้างองค์ความรู้จากการ่วมทำงานกับประชาชน เครือข่ายสุขภาพในระดับพื้นที่ เกี่ยวกับการจัดการระบบและโครงสร้างการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทำให้เกิดบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพสามารถตรวจสอบได้
4. มุ่งพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลชุมชน ให้สามารถให้บริการที่มีคุณภาพและสามารถตรวจสอบได้
5.เร่งรัดพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลชุมชน ทั้งขั้นพื้นฐานและขั้นสูง ให้พยาบาลมีสมรรถนะด้านสุขภาพชุมชน มีใจรักและสามารถให้บริการสุขภาพปฐมภูมิอย่างมีคุณภาพ
6.เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพ ต้องมีความต่อเนื่องทางปัญญา จึงต้องมีสถาบันพยาบาลชุมชนเป็นเครื่องมือ
ประกาศเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2545
รวมเวลา 12 ปี
หลังจากนั้นท่านก็ได้รับการเลือกตั้งจากมวลสมาชิกให้ดำรงตำแหน่ง นายกสภาการพยาบาล สิ่งที่ปรากฎ เกิดสถาบันที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการทำงาน คือ "สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบการพยาบาล" มีโครงการวิจัยและพัฒนาต่างๆเกิดขึ้นพร้อมกับการำฺรูประบบสุขภาพ โดยใช้แนวคิด "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา" เป็นการทำงานร่วมกันในสามภาคส่วน คือ วิชาการ การเมือง และภาคประชาชน เพื่อร่วมการเรียนรู้ ไปสู่เป้าหมายอุดมการณ์ชาติคือ "สร้างนำซ่อม"
ในส่วนที่ตนเองซึ่งเป็นกลไกเล็กได้มีส่วนร่วมทำอะไรไปบ้าง คงได้โอกาสสำหรับการทบทวบตนอีกครั้ง
บทเรียนแรก ในปีการศึกษา 2546 ได้นำคำประกาศมาถ่ายทอดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียนรายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน ได้รับรู้ ในหัวข้อ "การทำงานในชุมชน" ท้ายชั่วโมงให้นักศึกษาบันทึกสะท้อนคิดการเรียนรู้ เกิดเป็นข้อความดังต่อไปนี้
"พยาบาลคือกัลยาณมิตรของสังคม"
พยาบาลสร้างชีวิต สร้างคุณค่า
เพื่อประชาเป็นสุข ไร้ทุกข์เข็ญ
คือ หน้าที่สร้างด้วยใจ ให้ร่มเย็น
เพื่อได้เป็นบริการ งานที่ดี
กัลยาณมิตร คือปัจจัย ที่ต้องสร้าง
เพื่อหนทางพัฒนา ที่สุขศรี
ของสังคมใดใด ในทุกที่
ทุกชีวีเป็นสุขล้วน ถ้วนหน้ากัน
คนสะท้อนบทเรียนอาจจะลืมไปแล้ว แต่สำหรับผู้จุดประกายแล้วสิ่งเหล่านี้ยังสว่าง กระจ่างชัดอยู่ในความทรงจำ และยังส่งผ่านบทเรียนไปยังรุ่นแล้วรุ่นเล่าเท่าที่ทำได้ และได้ทำ
ซึ่ง ศ.นิธิ เอี่ยวศรีวงษ์ ได้เขียนไว้ว่า"ความรู้ถ้าเมื่อไหร่เราได้มาอย่างอิสระ เมื่อนั้นมันจะมีอำนาจอย่างมหาศาล ถ้าเราอบรมยัดเยียดให้ มันจะไม่เกิดอำนาจอะไรเลย มันก็จะเป็นอย่างที่เขาสั่งให้เราเป็น เมื่อไหร่ที่เราให้มนุษย์แสวงหาความรู้เอง เมื่อนั้นเขาจะมีอำนาจมากมาย " ขอให้นำอำนาจความรู้ มาสร้างอำนาจความดี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ไม่ใช่เพื่อการเอารัดเอาเปรียบเป็นปลาใหญ่กินปลาเล็ก เพราะคนฝึกตนเองได้ ไม่ใช่ปลา
แล้วกลับมาติดตาม "อนาคตวิชาชีพพยาบาล มุมมองศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ" ณ ชานชาลาการเรียนรู้นี้ : สถานีปฏิบัติการพยาบาลเพื่อร่วมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน กันต่อไปนะคะ
เจริญธรรม สำนึกดีค่ะ
ยาดมเอง
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « การพัฒนาความเข้มแข็งของการจัดการ...
- ใหม่กว่า » เครือข่ายการร่วมดูแลสุขภาพชุมชน
04 กันยายน 2557 12:51
#99799
ขอบคุณทุกกำลังใจค่ะ ขณะนี้กำลังตามสรุป จากบันทึกสะท้อนคิดการเรียนรู้ของนักศึกษารายวิชาบริหารที่เข้าร่วมรับฟัง
ยาดมเอง