ความเห็น: 0
ความสัมพันธ์ของอาหารกับการเปลี่ยนแปลงของไขมันในเลือด
จะเห็นว่าช่วงนี้บุคลากรหลายท่านจะได้รับผลตรวจสุขภาพแล้วพบว่ามีค่าไขมันในเลือดสูงกันเยอะ ซึ่งยักษ์สวยก็เป็นหนึ่งในนั้น...ดังนั้นต้องหาทางที่จะลดค่าดังกล่าวให้ต่ำลงนะค่ะ...ในวันนี้ยักษ์สวยก็มีความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอาหารกับการเปลี่ยนแปลงของไขมันในเลือดมาฝากกันนะค่ะ
2. ปริมาณและชนิดของกรดไขมันที่บริโภค การรับประทานไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลมาก ทำให้ LDL สูงขึ้น นอกจากนี้ ไขมันจากมะพร้าวจะทำ ให้ตับสังเคราะห์โคเลสเตอรอล และ LDL เพิ่มขึ้น
แต่ไขมันชนิด Medium-chain triglyceride จะไม่เพิ่มโคเลสเตอรอล กรดไขมันกลุ่ม Polyunsaturated fatty acid หรือ Omega-6 จะช่วยลดระดับ LDL ได้ แหล่งของไขมันกลุ่มนี้พบได้ในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น และ Omega-3 เป็นกรดไขมันที่พบได้จากสาหร่าย ปลาทะเล หอย และนํ้ามันปลาจะช่วยลด LDL ได้ ถ้ามีความเข้มข้นมากพอ (อย่างน้อย๘-๑๖ กรัม หรือ ปริมาณนํ้ามันปลา ๖-๓๐ % ของพลังงานที่รับประทานทั้งวัน)
3. ชนิดของอาหาร ผู้ที่รับประทานอาหารไขมันน้อย แต่รับคาร์โบไฮเดรต และใยอาหารมากจะมีโอกาสเกิดหลอดเลือดอุดตันน้อยแต่ต้องมีนํ้าตาลไม่เกิน ๑๐-๑๕ % ของพลังงานทั้งวันและรับประทานใยอาหารอย่างน้อย ๑๗ กรัม /๒๐๐๐ แคลอรี่ การได้รับอาหารที่มีพลังงานสูงและความอ้วนทำ ให้ระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูงแต่การได้รับโปรตีนที่ไม่มีไขมันไม่มีผลต่อการเพิ่มของไขมันในเลือด
ขอขอบคุณข้อความดีๆจาก : กลุ่มงานโภชนวิทยา โรงพยาบาลรามวิถี
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ [Hypoglycemia]
- ใหม่กว่า » การควบคุมระดับไขมันในเลือด
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้