comment: 0
การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม
การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม
เรื่องนี้เป็นคำถามสำคัญในเกณฑ์ TQA หมวด 2 ข้อ 2.1ก (2) เรื่องนวัตกรรม ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากในการเขียนรายงาน TQA เพราะไม่รู้ว่าจะสร้างสภาพแวดล้อมอย่างไร ถ้ารู้วิธีการสร้างอย่างเป็นระบบและนำมาดำเนินการก็เขียนได้ไม่ยาก คือเขียนอย่างที่ทำแค่นั้นเอง
ดังนั้น เราจึงควรเริ่มต้นศึกษาก่อนว่า มีชุดของตัวแปรอะไรบ้างที่กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมขึ้นในองค์กร พบว่ามี 3 กลุ่ม ตัวแปร คือ Structure Variables, Cultural Variables, และ Human Resource Variables
เริ่มจาก Structure Variables ก่อนเลยนะคะ เพราะเป็นตัวแปรที่เข้าใจง่ายที่สุด สร้างง่ายที่สุด ตัวแปรกลุ่มนี้ประกอบด้วย 5 ตัวแปร ได้แก่
1. โครงสร้างองค์กรที่มีลักษณะแบบมีชีวิต (Organic Structure) เป็นโครงสร้างที่มีลำดับการบังคับบัญชาน้อย เป็นโครงสร้างแบบแบน (Flat) การแบ่งแยกงานน้อย หน้าที่งานจึงยึดหยุ่น มีกฎระเบียบน้อย มีความเป็นทางการน้อย เน้นการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ และเน้นการทำงานเป็นทีม เหมาะกับองค์กรที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
2. ทรัพยากรที่มากพอ (Abundant Resources) องค์กรต้องพร้อมที่จะจัดหาทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมขององค์กร รวมถึงความพร้อมที่จะยอมรับต่อความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นจากนวัตกรรมเหล่านั้น
3. การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน (High Interunit Communication) ด้วยการออกแบบโครงสร้างองค์การให้ทำงานแบบที่ไม่ใช่เครื่องจักร (Mechanic Structure) เช่น แบบ Cross-functional Teams, Task Forces ฯลฯ ซึ่งจะช่วยในการลดปัญหาอุปสรรค ข้อขัดข้องของการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานลงได้
4. การลดแรงกดดันเรื่องเวลาในกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Minimize Time Pressure) แม้ว่าจะตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และถึงแม้ว่าการกำหนดกรอบเวลาในการทำงานให้แก่บุคลากรจะสร้างแรงกดดันให้ทำงานอย่างจริงจังก็ตาม แต่ผลการศึกษาวิจัยพบว่าแรงกดดันกลับทำให้บุคลากรเกิดความคิดสร้างสรรค์น้อยลง
5. การสนับสนุนทั้งในเรื่องงานและเรื่องที่ไม่ใช่งานโดยตรง (Work and Nonwork Support) การสนับสนุนในเรื่องงานดูจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย แต่การสนับสนุนในสิ่งที่ไม่ใช่งานโดยตรงดูจะเป็นเรื่องยากในการทำความเข้าใจและนำไปปฏิบัติ แท้จริงแล้วเรื่องนี้ คือ การสร้างกำลังใจ การเกื้อหนุนบุคลากร การติดต่อสื่อสารที่เปิดกว้างทุกกระดับให้ทั่วถึงทั้งองค์กร ความพร้อมในการรับฟังความคิดเห็นของบุคลากร ตลอดจนการรับฟังข้อมูลย้อนกลับที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
ทั้ง 5 ตัวแปรนี้พิจารณาแล้วดูจะไม่ใช่เรื่องยากในการสร้างสภาพแวดล้อมขององค์กรให้เป็นแบบนี้ เพราะนี่คือกลุ่มตัวแปรที่ง่ายที่สุด คราวหน้าจะนำกลุ่มCulture Variables ที่เป็นส่วนที่สร้างยากแต่มีประสิทธิผลมากขึ้นมานำเสนอนะคะ
LUX
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการพัฒ...
- ใหม่กว่า » การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สน...
Comment on this Post