ความเห็น: 0
การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม (ภาคต่อ)
เขียนไปตอนแรกที่ว่าด้วยกลุ่มตัวแปรด้าน Structure ที่สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม
คราวนี้ขอต่ออีกกลุ่มตัวแปรที่สำคัญคือ Cultural Variables นะคะ ซึ่งประกอบด้วย
1. การยอมรับต่อความไม่ชัดเจน ความกำกวมทั้งหลาย เพราะการมุ่งเน้นแต่ความเฉพาะเจาะจงชัดเจน มุ่งให้มีข้อมูลสนับสนุนเป็นเชิงประจักษ์มากเกินไปเป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อความคิดสร้างสรรค์
2. ความอดกลั้นต่อสิ่งที่น่าจะไม่สามารถปฏิบัติได้ บางครั้งข้อเสนอหรือคำตอบของบุคลากรในองค์กรที่ดูแล้วไม่น่าจะนำไปปฏิบัติได้ กลับนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นนวัตกรรม
3. ลดการควบคุมให้น้อยลง โดยลดการใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ แนวโยบายเชิงควบคุมบังคับให้เหลือน้อยที่สุด
4. ความอดกลั้นต่อความเสี่ยง ควรสนับสนุนบุคลากรให้ทดลองโดยปราศจากความกลัวต่อความล้มเหลว ให้คิดว่าความผิดพลาดให้โอกาสในการเรียนรู้และอย่ากำหนดบทลงโทษต่อความล้มเหลวเหล่านั้นเพราะจะทำให้ไม่กล้าที่จะเสี่ยง
5. ความอดกลั้นต่อความขัดแย้ง ควรสนับสนุนให้บุคลากรแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ความคิดเห็นที่สอดคล้องตรงกัน หรือสามัคคีกันก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่จะยืนยันได้ว่าองค์กรนั้นจะมีผลการปฏิบัติงานดี
6. มุ่งเน้นผลมากกว่าเพ่งมองไปที่วิธีการ ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน และสนับสนุนให้บุคลากรหาแนวทางที่จะบรรลุเป้าหมายในการทำงานด้วยตนเอง การมุ่งเน้นไปที่ผลอาจทำให้ได้แนวทางที่ถูกต้องหลายแนวทางในการแก้ไขปัญหา
7. มุ่งเน้นระบบเปิด ผู้บริหารควรติดตามสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
8. การให้ข้อมูลป้อนกลับในเชิงบวก ผู้บริหารควรให้ข้อมูลป้อนกลับในเชิงบวกแก่บุคลากร รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานได้รับความสนใจจากผู้บริหาร
จะว่าไปแล้วเรื่อง Cultural Variables ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติ ก็น่าจะลองนำไปใช้ดูนะคะ
LUX
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สน...
- ใหม่กว่า » "Imagination is more important t...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้