ความเห็น: 0
อาจารย์ที่ปรึกษา สื่อกลางในการสร้างบัณฑิตคุณภาพ
ได้อ่านคู่มือหลักสูตรมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ที่เน้นให้นักศึกษาปริญญาตรีสามารถออกแบบรายวิชาที่เรียนได้ นอกจากรายวิชาแกนวิชาบังคับของหลักสูตร ตามความสนใจว่าต้องการเรียนจบแล้วไปทำงานอะไร แบบไหน เป็นนักวิชาการ นักธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทำงานรัฐ ทำงานเอกชน นักวิจัย นักขาย หรือแม้แต่นักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งอาจารยที่ปรึกษามีบทบาทที่สำคัญในการให้ข้อแนะนำ ให้คำปรึกษา ให้ข้อมูล และร่วมออกแบบกับนักศึกษา
โดยเมื่อนักศึกษาเข้าเรียนในหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษาจะจัดให้ข้อมูลว่านักศึกษาสามารถจะเรียนแล้วไปทำอะไรได้บ้างในหลักสูตรที่เรียน เช่น การเกษตร อาจไปเป็นนักวิชาการหน่วยงานรัฐ เป็นอาจารย์ เป็นนักวิจัยในบริษัท พนักงานขาย เจ้าหน้าที่การผลิต นักธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร หรือนักเกษตรที่มีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักศึกษาไปศึกษาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตนเอง
เมื่อนักศึกษาได้แสดงความต้องการ ก็จะนำมาจัดวิชาการเรียน การศึกษาหาความรู้ให้ตรงกับความต้องการ
เช่นนักศึกษาที่ต้องการเป็นนักวิจัยก็ต้องเรียนวิชาการที่เกี่ยวกับการทำวิจัย ต้องติดตามวารสารวิชาการ ต้องทำวิจัยเช่นทำปัญหาพิเศษ และทำวิจัยจนสามารถนำเสนอผลงานวิจัยได้
นักศึกษาที่ต้องการทำงานเอกชน ก็ต้องศึกษาคุณสมบัติของบุคลากรต่าง ๆ เช่นนักขายต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถอะไร เพื่อศึกษาวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทำกิจกรรม ฝึกงานที่เกี่ยวข้อง
หรือนักศึกษาที่ต้องการทำงานเป็นผู้รู้กฎหมายการเกษตรก็สามารถไปเลือกเรียนวิชาด้านกฎหมายเพิ่มมากขึ้น
โดยสรุปคือ เป็นการออกแบบหลักสูตร เตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานตามที่ต้องการ หรือสอดคล้องกับความชอบของตนเอง
หรือนักศึกษาบางคนต้องการเรียนเพื่อเพิ่มโอกาสในหลากหลายอาชีพก็ต้องออกแบบการเรียน ต้องเรียนเพิ่มในวิชาที่เกี่ยวข้องให้มากขี้น ซึ่งทั้งหมดมีอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ดูแลให้คำแนะนำในฐานะตัวแทนของหลักสูตร
ที่สำคัญคือหน้าที่การสร้างบัณฑิตที่เข้มแข็งด้วยการให้นักศึกษากำหนดบทบาทและอนาคตของตนเอง
ดังนั้น อาจารย์ที่ปรึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างบัณฑิต ด้วยการให้ข้อมูล ข้อแนะนำ การจัดหาที่เรียนรู้ ที่ฝึกงาน ฝึกทำกิจกรรมต่าง ๆ ในการหล่อหลอมบัณฑิตแต่ละคนให้ตรงตามคุณภาพจริง
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ดูละครย้อนความจริง
- ใหม่กว่า » ค่าการวิจัยต้องพัฒนา
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้