ความเห็น: 1
อาจารย์นักวิจัย เพื่อเยาวชน : ยุววิจัยเศรษฐกิจชุมชน
งานวิจัย คือหนึ่งภารกิจของชาว ม.อ.
วิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่ง คำตอบ การแก้ปัญหา ก่อเกิดปัญญา
: ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ชุมชนชนบทพึ่งพาสังคมเมือง(มากขึ้น) สังคมเมืองพึ่งพาต่างประเทศ(มากขึ้น) คนไทยมีหนี้(มากขึ้น) เกิดวัตถุนิยม คนไทยสามารถก้าวตามการเปลี่ยนแปลงของโลกทุนนิยมได้ แต่กลับไม่ค่อยรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงนั้นจนนำไปสู่การพึ่งพาตนเองน้อยลง พึ่งพาภายนอกมากขึ้น บางชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นสูญหายหรือรื้อฟื้นกลับมาได้ไม่มากนัก บางแห่งเกิดการแข่งแย่ง เอารัดเอาเปรียบ ขาดการช่วยเหลือเกื้อกูล ฯลฯ
: หากชุมชนชาวไทยเป็นเช่นนี้..ความมั่นคง..คุณภาพชีวิตของคนไทย จะเป็นเช่นไร
..โครงการยุววิจัยเศรษฐกิจชุมชน..
รศ.ดร.สมยศ ทุ่งหว้า |
เกิดขึ้นด้วยการเห็นความสำคัญของการพัฒนาชุมชนด้าน"เศรษฐกิจชุมชน" เป็นฐานรากของประเทศ ที่มักนำสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาใช้เป็นฐานสำคัญของการสร้างเศรษฐกิจชุมชน หากแต่มีทั้งประสบความสำเร็จมากบ้างน้อยบ้าง ด้วยปัจจัยหลายด้านประกอบกัน
การที่จะให้เศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืนเพื่อการลดปัญหาการพึ่งพาจากภายนอก ให้ชุมชนสามารถอยู่ด้วยด้วยตนเองให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่ากับสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น สามารถนำสิ่งดีดีที่เรียกกว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลับมาให้ให้เกิดประโยชน์ ความมั่นคงของชุมชน คุณภาพชีวิตของชุมชน จะกลับมาดีขึ้นอย่างแน่นอน (ความคาดหวัง) |
∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞ |
|
ถาม : ใครจะเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาให้เศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น ..มีความมั่นคง ยั่งยืน
ตอบ : (ต้อง) คนในชุมชนซิ..
แล้วใครหล่ะ คำตอบคือ เยาวชน
รศ.ดร.สมยศ ทุ่งหว้า ผู้เปิดความคิดให้เยาวชน คนในชุมชน ได้มีโอกาสหันกลับมามองชุมชนของตนเอง จุดประกายนักเรียนเข้าสู่กระบวนการคิด
โครงการยุววิจัยเศรษฐกิจชุมชน เริ่มขึ้นกับเยาวชน 5 จังหวัด สตูลนครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสงขลา มารวมกันจุดประกายทางความคิด หาสิ่งที่เป็นอยู่ในชุมชน เพื่อหาโจทย์วิจัย กระบวนการสร้างการเรียนรู้ของ เยาวชนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 และครู คือพี่เลี้ยง
หลังจากที่เห็นปัญหาแบบเดียวกัน การปฏิบัติการหาข้อมูลในชุมชนตนเองจึงเกิดขึ้นด้วยห้องเรียนที่กว้างใหญ่ นั่นคือชุมชนของนักเรียนนั่นเอง อ.สมยศ ชี้แนะแนวทางการค้นหาข้อมูลของชุมชนตนเอง เรียนรู้ทรัพยากรที่มีอยู่ ทุนทางสังคมของชุมชนมีอะไรบ้าง ทุนพื้นที่ ทุนชีวิต ธรรมชาติของชุมชน เห็นสิ่งที่ชุมชนมี เห็นสิ่งที่สามารถนำมาสร้างโอกาสให้กับชุมชน.. หลังจากนั้น เด็กได้รับการชี้แนะแนวทางการเขียนโครงการเพื่อให้มาซึ่งโจทย์วิจัย...
![]() |
คณะทำงานเกาะติดประชิดผู้ร่วมโครงการ มีทั้งการนัดหมายมารวมกลุ่มใหญ่ เกาะติดประชิดกลุ่มย่อยให้เห็นความชัดเจนของโครงการ-โจทย์วิจัย และ เข้าถึงแหล่งชุมชนของนักเรียนเพื่อพูดคุยชี้แนะด้านการดำเนินการ
(ภาพ) 1. รศ.ดร.สมยศ ทุ่งหว้า 2. รศ.ดร.ศุธีระ ประเสริฐสรรพ์ 3. อ.จำนงค์ แรกพินิจ
และนักเรียน ว่าที่ "นักวิจัยรุ่นเยาว์" |
สิ่งที่พบเห็นของ รศ.ดร.สมยศ ทุ่งหว้า นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ก่อ เกิดจิตสำนึกสาธารณะ เกิดการตระหนักคิด มีกระบวนการคิดที่เป็นแผนที่ทางสมองในอนาคต เกิดการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น รักในท้องถิ่น รู้ประวัติศาสตร์ สานสัมพันธ์อันดีระหว่างเด็ก ครู พ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างองค์ความรู้ที่ไม่ได้อยู่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว และ เกิด “นักวิจัยรุ่นเยาว์”
นอกเหนือจากนั้น สิ่งที่ผ่านกระบวนการหาข้อมูลและจัดทำโครงการในรูปแบบของงานวิจัย ทำให้องค์กรในท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาลตำบล และองค์กรอื่นๆ ได้เห็นความชัดเจนที่เกิดขึ้นในชุมชน สามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตนเองได้อย่างดีขึ้น และถือได้ว่า เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อการ “ทุกคน” ในชุมชน “รักบ้านเกิด”
ตัวอย่าง โครงการที่สร้าง และผลที่เกิดขึ้น
โครงการทำบัญชีครัวเรือนของนักเรียนโรงเรียนสทิ้งพระ จ.สงขลา
ก่อเกิดการเชื่อมโยงของนักเรียนกับผู้ปกครองในการทำบัญชีครัวเรือน เก็บข้อมูลตัวเอง รายรับรายจ่าย 4 เดือน ข้อมูลของตัวเอง-ครอบครัว
(ความซับซ้อน ยุ่งยาก ของการให้ได้ซึ่งข้อมูล และการนำมาวิเคราะห์ว่าจุดด้อยเรื่องค่าใช้จ่าย-รายรับมีอะไรบ้าง)
นำไปสู่...การลดค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้
โครงการอื่นๆ เช่น
- ศึกษาเส้นทางผ้าทอแพรกหาสู่เศรษฐกิจชุมชน โรงเรียนปัญญาวุธ จ.พัทลุง
- การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบ้านนาบินหลาด้วยการรวมกลุ่มปลูกหญ้าสำหรับวัวชน โรงเรียนวิเชียรมาตุ 3 จ.ตรัง
- การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ต้นกล้า 3 ดี โดยใช้วงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) โรงเรียนเทพพิทยาภานุมาศ จ.สงขลา
- คุณค่าทางเศรษฐกิจของป่าเสม็ด “กรณีศึกษาการเลี้ยงผึ้งด้วยพังกาด” โรงเรียนปากจ่าวิทยาจ.สงขลา
- ศึกษาพฤติกรรมการใช้เงินของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ต.นาขยาด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โรงเรียนนาขยาดวิทยาคารจ.พัทลุง
- เส้นทางแกงไตปลายอดหวายอบแห้งกับเศรษฐกิจชุมชนบ้านไผ่รอบม.2 ต.บ้านพร้าว อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคมจ.พัทลุง
- ศึกษาเส้นทางเศรษฐกิจผลผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลูกจันใน ต.ร่อนนา อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช โรงเรียนสตรีทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
- “ดูแลสุขภาพพึ่งตนด้อยราคาแต่คุณค่ามหาศาล” โดยหมอเขียว ใจเพชร โรงเรียนชะอวดจ.นครศรีธรรมราช
@@สิ่งที่เกิด@@
@ คุณภาพของเยาวชน
@ พัฒนาคุณภาพครูให้เป็นผู้รู้และสร้างนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
@ เกิดกระบวนการวิจัยที่เชื่อมโยงจากโรงเรียนกับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน
@ เกิดการร่วมคิดและร่วมพัฒนา ที่สามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@โครงการยุววิจัยเศรษฐกิจชุมชน เป็นโครงการภายใต้การดูแลของสำนักประสานงาน “การวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ตอนกลาง” ได้รับงบประมาณสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ส้มจุก..สูญสิ้นจริง..ฤา
- ใหม่กว่า » อาจารย์นักวิจัย เพื่อเยาวชน : ยุ...
23 พฤศจิกายน 2554 06:15
#72064
เป็นโครงการที่ดีมากครับ
มหาวิทยาลัยต้องสร้างคนที่มีความรู้มีปัญญา