ความเห็น: 0
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๖ [C]
บันทึกในซีรีย์เดียวกัน
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๑
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๒
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๓
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๔
ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป: เอาไปวัด ๕
คราวนี้เรามาดูระยะที่ได้จากการวัดในแต่ละส่วนกันนะครับ พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับค่าต่าง ๆ ที่เรากำหนดไว้ในส่วนการตั้งค่าของเวิร์ด
เฉพาะส่วนบนของกระดาษนะครับ
ระยะจากขอบกระดาษซ้ายมือมาจนถึงเส้นสีดำทึบแนวตั้งที่อยู่หลังหมายเลขบรรทัดหรืออยู่หน้าอักษรตัวแรกในส่วนเนื้อหาของเอกสาร (ตัว ก) เส้นทึบสีดำเส้นนี้เป็นเส้นที่ผมวาดลงไปเองครับ เพื่อกำหนดขอบเขตของขอบซ้ายสุดของข้อความ ระยะนี้เมื่อจากขอบกระดาษซ้ายมือจะได้ระยะ 12 หุน พอดี หรือเทียบเป็น 1.5 นิ้ว เท่ากับระยะขอบกระดาษด้านซ้ายที่เราตั้งไว้ 1.5 นิ้ว (Left = 1.5")
และเราจะเห็นว่า หมายเลขกำกับบรรทัดนั้นอยู่นอกขอบเขตของข้อความในเอกสาร หรืออยู่ภายในระยะกั้นหน้า (Left)
ระยะขอบกระดาษจากขอบกระดาษด้านขวามือสุด วัดมาจนถึงเส้นทึบสีดำแนวตั้งที่อยู่หลังตัว อ ซึ่งเป็นเส้นที่ผมวาดขึ้นเพื่อให้เป็นแนวขอบเขตของข้อความในเอกสารด้านขวามือ ระยะนี้วัดได้ 8 หุน หรือเท่ากับ 1 นิ้วพอดี ระยะนี้จะเท่ากับระยะกั้นหลัง (Right) ที่เรากำหนดไว้ (Right = 1.0")
เส้นวัดระยะแนวตั้งสีแดงเส้นแรกสุดนับจากขวามือ วัดระยะจากขอบกระดาษบนสุดมาถึงเส้นประเส้นล่าง หรือเส้นประที่อยู่ใต้ข้อความ second line ที่อยู่ในส่วนของ Header ระยะนี้วัดได้ 12 หุน หรือเท่ากับ 1.5 นิ้วพอดี หรือ เท่ากับระยะขอบบน (Top) ที่เรากำหนดไว้ (Top = 1.5")
เส้นวัดระยะแนวตั้งสีแดงเส้นที่ 2 วัดจากขอบกระดาษด้านบนสุดมาถึงเส้นทึบสีดำแนวนอน ด้านล่างเส้นประแสดงแนวขอบบน (Top) ระยะนี้วัดได้ 12.5 หุน ระยะนี้/ หรือเส้นทึบแนวนอนเส้นแสดงขอบเขตล่างสุดของส่วน Header หรือเป็นเส้นแบ่งระหว่า่ง Header กับส่วนข้อความ เส้นทึบเส้นนี้ผมวาดเอาครับ
เส้นวัดระยะแนวตั้งสีแดงเส้นที่ 3 นับจากทางขวามือ วัดระยะจากขอบกระดาษาบนสุดมาถึงเส้นทึบสีดำแนวนอนที่อยู่ด้านบนตัวเลข 1 ซึ่งเป็นหมายเลขหน้า ระยะนี้วัดได้เท่ากับ 8 หุน หรือเท่ากับ 1.0 นิ้วพอดี หรือเท่ากับระยของ Header ที่เรากำหนดให้เท่ากับ 1.0" from edge
นั่นคือตำแหน่งของ Header จะเริ่มจากระยะขอบกระดาษด้านบนลงมา 1 นิ้ว ตามที่เรากำหนดในการตั้งค่าระยะขอบของเอกสาร ซึ่งความสูงของ Header นี้จะแปรผันตามจำนวนบรรทัดที่อยู่ภายในส่วน header ระยะน้อยที่สุดของ header จะมีค่าเท่ากับ ระยะที่กำหนดไว้จากขอบกระดาษด้านบนลงมาจนถึงขอบเขตของระยะขอบบน (Top) หรือตำแหน่งล่างสุดของ Header จะเท่ากับระยะขอบบน (Top) พอดี
แต่ขอบเขตด้านล่างของ Header จะเลื่อนลงมาเลยระยะขอบบน (Top) มากเท่าไหร่ขึ้นอยู่จำนวนบรรทัดที่มีใน Header
อันนี้ไว้ดูความต่างกรณีที่เราตัดส่วนของ Header ให้เหลือแค่ 1 บรรทัด
เส้นวัดระยะแนวตั้งสีแดงเส้นที่ 6 จะแสดงระยะความสูงของ Header ซึ่งในกรณีนี้จะเท่ากับ 4.5 หุน หรือประมาณ ครึ่งนิ้ว ระยะนี้สามารถยืด/หด ได้ตามสิ่งที่อยู่ภายใน Header
เส้นวัดระยะแนวตั้งสีแดงเส้นแรกสุดจากทางซ้ายมือ วัดระยะจากขอบกระดาษบนสุดถึงเส้นทึบสีดำแนวนอนที่อยู่บนตัวอักษร ก ข ฅ ค หรืออยู่ด้านล่างสระอิ ( ิ) วัดระยะได้ 13 หุน
ระยะที่ได้นี้เกิดจากการตั้งค่า
Top= 1.5"
Left = 1.5"
Right = 1.0"
Gutter = 0.0"
Header = 1.0" from edge
ตัวอักษร TH sarabunPSK ขนาด 16 ทั้งส่วนของ Header และส่วนของข้อความ และส่วน Header มีจำนวน 2 บรรทัด
ส่วนของข้อความ กำหนดการจัดข้อความ (Text Alignment) เป็น Justified
ส่วนของ Header กำหนดการจัดข้อความ (Text Alignment) เป็นแบบ Right
ส่วนข้อความจัดระยะบรรทัดและการเว้นระยะเป็น 1.5 (Line spacing: multiple at 1.15) และ 0 กับ 10 (Paragraph, Before =0pt, After = 10pt)
ส่วนเส้นวัดระยะแนวตั้งสีแดงเส้นที่เหลือเป็นการวัดระยะประกอบเพื่อเพิ่มความเข้าใจในระยะต่าง ๆ
อิอิอิ
เราเอง
เพลง: China Roses
ศิลปิน: Enya
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ด...
- ใหม่กว่า » ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ด...