ความเห็น: 0
การตรวจพินิจ (Visual Testing) ในงานวัสดุ
ในกระบวนการทดสอบและวิเคราะห์ทางด้านวัสดุ “การตรวจพินิจ (Visual Testing)” เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจสอบโดยไม่ทำลาย (Non-destructive Testing) เราสามารานำไปประยุกต์ใช้งานตั้งแต่ขั้นตอนของการตรวจรับวัตถุดิบ ในระหว่างทำการผลิตและชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว และภายหลังจากผ่านการใช้งาน โดยข้อมูลที่ได้สามารถนำไปประเมินความเหมาะสมในการใช้งานของชิ้นงานตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
การตรวจพินิจ คือ การทดสอบโดยใช้สายตาเปล่าหรือบางกรณีผู้ตรวจสอบอาจใช้แว่นขยาย เพื่อช่วยในการตรวจหารอยบกพร่องหรือความไม่ต่อเนื่องที่อยู่บนผิวชิ้นงาน ผู้ที่ทำการทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจนี้ต้องมีความรู้และความชำนาญในงานหรืออุปกรณ์ที่จะทดสอบ รวมทั้งมาตรฐานที่เกี่ยวข้องด้วย โดยทั่วไปการทดสอบด้วยกรรมวิธีการนี้จะต้องทำเป็นอันดับแรกก่อนที่จะทำการทดสอบด้วยวิธีการอื่นต่อไป
ลักษณะการทดสอบแบ่งเป็น 3 ประเภท โดยอ้างอิงตาม มาตรฐาน The American Society of Mechanical Engineers หรือ ASME (อ้างอิงข้อมูลจาก สมาคมการทดสอบโดยไม่ทำลายแห่งประเทศไทย) คือ
1.การทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจโดยตรง
ผู้ทดสอบต้องผ่านการตรวจสอบสายตา และผ่านข้อกำหนดตามมาตรฐานที่อ้างอิงวิธีการทดสอบโดยการตรวจพินิจโดยตรง คือสายตาต้องอยู่ห่างจากชิ้้นงานไม่เกิด 24 นิ้ว และทำมุมไม่ต่ำกว่า 30 องศา กับผิวชิ้นงาน ในพื้นพี่ทดสอบต้องมีความเข้มตามมาตรฐานที่อ้างอิง
2.การทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจโดยอ้อม
กรณีที่ทดสอบในบริเวณที่ไม่สามารถมองด้วยสายตาโดยตรงได้ ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยทดสอบระยะไกล เช่น กระจกเงา กล้อง Telescope, Borescope หรือเครื่องมืออื่นๆ ที่ความเหมาะสมและความสามารถในการแยกแยะไม่น้อยกว่าการทดสอบโดยวิธีตรวจพินิจโดยตรง
3.การทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจโดยใช้แสงสว่างช่วย
เป็นการช่วยเสริมการทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจโดยตรง โดยใช้แสงสว่างที่สร้างขึ้นมาใช้เฉพาะงาน เช่น การใช้แสงสว่างจากหลอดไฟจำกัดการส่องสว่างเฉพาะที่เพื่อให้พื้นที่ทดสอบมีความเข้มแสงอย่างสม่ำเสมอได้ตามมาตรฐาน และต้องควบคุมไม่ให้แสงสะท้อนผิวงานเข้าตา
ลักษณะเด่นของการทดสอบแบบ Visual Testing
1) เป็นวิธีการทดสอบที่ง่าย
2) ใช้เวลาในการทดสอบน้อยกว่าวิธีอื่น
3) ต้นทุนในการทดสอบต่ำ
4) การอบรมบุคลากรใช้เวลาน้อย
5) สามารถทำการทดสอบได้ทุกขั้นตอนการผลิต
6) เป็นวิธีที่ใช้เครื่องมือที่ไม่ซับซ้อนหรือไม่ใช้เลย
7) สถานที่และรูปร่างของวัสดุไม่เป็นข้อจำกัด
ลักษณะด้อยของการทดสอบแบบ Visual Testing
1) ถึงแม้เป็นวิธีทดสอบที่ง่ายแต่ต้องใช้ความรู้และความชำนาญสูง
2) บางครั้งไม่มีมาตรฐานในการกำหนดการตัดสินใจว่าเป็นของเสียหรือไม่
3) สามารถทดสอบบริเวณผิวหน้าของชิ้นงานเท่านั้น
4) การทดสอบต้องใช้สายตาเป็นหลัก สายตาที่อ่อนล้า อาจทำให้ตัดสินใจผิดพลาด
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « กล้องคอนโฟคอลเลเซอร์ฟื้นคืนชีพ
- ใหม่กว่า » แผ่นรองฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้