อ่าน: 1860
ความเห็น: 0
ความเห็น: 0
แผ่นรองฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ
แผ่นรองฝ่าเท้าเพื่อลดแรงกระแทก (Cushioned insoles) คือ แผ่นวัสดุที่ทำหน้าที่กระจายแรงกดและแรงกระแทกของเท้า เมื่อเดินหรือวิ่ง ซึ่งในทางการแพทย์ นำแผ่นรองฝ่าเท้ามาใช้เพื่อรักษาโรครองช้ำหรือการอักเสบของพังผืดฝ่าเท้า หรือโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บของเท้าส่วนหน้า
แผ่นรองฝ่าเท้า ประกอบด้วยวัสดุประกบกันอย่างน้อย 3 ชั้น คือ
- ชั้นที่ 1 วัสดุพื้นฐานใช้บุภายในพื้นรองเท้า และไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเมื่อใช้งาน
- ชั้นที่ 2 วัสดุที่กระจายแรงกดได้ดี และลดแรงกระแทกได้บางส่วน ต้องมีค่าการคืนตัว (compression set) ไม่น้อยกว่า 87% ที่ 100 องศาเซลเซียส นาน 22 ชม.
- ชั้นที่ 3 วัสดุที่ใช้ลดแรงกระแทกได้ดี
รายการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.เลขที่ 2761-2559 แผ่นรองฝ่าเท้าเพื่อลดแรงกระแทกสำหรับใช้ทางการแพทย์ มีดังนี้
- การยืดหยุ่นและความกระเด้งกระดอน (Rebound resilience) โดยทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D7121 แล้วมีค่า Rebound resilience อยู่ในช่วง 42% ถึง 48%
- การกระจายแรงกด โดยทดสอบค่าความแข็ง (Hardness) ชนิด Durometer ของแผ่นรองฝ่าเท้า ควรมีค่า Hardness อยู่ระหว่าง 25 Shore C ถึง 35 Shore C
ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
074-286904-7, sec-all@psu.ac.th
สร้าง: 15 กันยายน 2560 22:06
แก้ไข: 15 กันยายน 2560 22:06
[ แจ้งไม่เหมาะสม ]
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « การตรวจพินิจ (Visual Testing) ใน...
- ใหม่กว่า » Flammability Tester ทดสอบการลามไ...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้