ความเห็น: 1
SAR ปีการศึกษา 2553 ของ ม.อ.
SAR ปีการศึกษา 2553 ของ ม.อ.
ปีการศึกษา 2553 มีการปรับเปลี่ยนค่อนข้างมากตามระบบประกันคุณภาพภายในของ สกอ. (Internal Quality Assurance = IQA) และตามการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. (External Quality Assurance = EQA)
1. ตัวบ่งชี้ปรับเปลี่ยน
2. ลดจำนวนตัวบ่งชี้
3. ปรับเกณฑ์เป็น 5 คะแนน และเกณฑ์ยากขึ้น
4. การประเมินคุณภาพภายใน ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ + 1 (สถานศึกษา 3 D ) และตามมาตรฐานคุณภาพของ สมศ. ซึ่งแบ่งตัวบ่งชี้เป็น 3 กลุ่ม คือ ตัวบ่งชี้พื้นฐาน อัตลักษณ์และมาตรการส่งเสริม ซึ่งต้องดำเนินการทุกปี
5. การประเมินคุณภาพภายนอก ประเมินเฉพาะตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานของ สมศ. ประเมิน 5 ปีครั้ง โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดย สมศ.
6. ทุกคณะ/หน่วยงานจัดการเรียนการสอน ต้องกรอกข้อมูล (Common Data Set = CDS) พร้อมหลักฐานเอกสาร และจัดทำ E-SAR ในระบบ CHE QA Online ของ สกอ. ซึ่งสำนักงานประกันคุณภาพจะจัดอบรมให้ทุกหน่วยงานก่อนการจัดทำ SAR มหาวิทยาลัยไม่ต้องกำหนดรูปแบบการจัดทำ SAR เพราะยึดรูปแบบของ สกอ.
7. คณะกรรมการประเมิน จะประเมินและประธานจะตรวจสอบและสรุปรายงานผลการประเมินให้ สกอ. ทางระบบ CHE QA Online เช่นกัน
8. ทุกคณะ/หน่วยงานจัดการเรียนการสอนและมหาวิทยาลัยส่งรายงานสรุปผลการประเมินให้ สกอ. ภายใน 120 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา (ภายใน 30 กันยายน)
มหาวิทยาลัยไม่ต้องกำหนดรูปแบบของสรุปรายงานผลการประเมินเพราะยึดรูปแบบของ สกอ.
9. มหาวิทยาลัยสรุปรายงานผลการประเมินพร้อมข้อเสนอและกำหนดผู้รับผิดชอบจัดทำร่างแนวทางการพัฒนา/แผนการพัฒนา เสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา และให้ข้อเสนอแนะและนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแผนการพัฒนา และดำเนินการต่อไป
หมายเหตุ : ระดับคณะดำเนินการเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยโดยนำเสนอกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
10. ในปีการศึกษา 2553 เนื่องจากปรับเปลี่ยนเป็นปีแรกจะยึดตามตัวบ่งชี้ของ สกอ. และ สมศ. เท่ากัน
ทุกคณะหน่วยงานสามารถดูรายละเอียดตัวบ่งชี้ของ สกอ. ได้จาก website ของสำนักงานประกันคณภาพ
ส่วนตัวบ่งชี้ของ สมศ. ยังเป็นฉบับร่าง แต่ก็มีหลายตัวบ่งชี้ที่นิ่งแล้ว
สิ่งที่ต้องรีบดำเนินการวางแผนกลยุทธ์ในการขับเคลื่อน แม้จะมีเวลาเพียง 6 เดือนก็ตามที
“ Quality is a journey
It is not a destination.”
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภา...
- ใหม่กว่า » คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภาย...
08 ธันวาคม 2553 22:13
#62223
การประกันคุณภาพภายในที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ 9 ข้อนั้นมีที่มาในเวลาใกล้เคียงกับการประกาศใช้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยฝีมือของ ดร.ทางการศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีตำแหน่งใหญ่โตแต่ขาดคุณสมบัตความรู้(Disqualified)เรื่องการบริหารคุณภาพตามมาตรฐานสากล
องค์ประกอบทั้ง 9 ข้อจึงไม่ได้มาตรฐานสากลเป็นมาตรฐานเถื่อนเนื่องจากแตกต่างกับมาตรฐานสากล ISO 9000:2000 มีองค์ประกอบ 8 ข้อที่เรียกว่า Principle of Quality Management ที่สอดคล้องกับมาตรฐานบอลริจ Baldrige Criteria ที่มี 7 หมวดเช่นเดียวกับ PMQA และ ECPE
องค์ประกอบทั้ง 9 ข้อที่เป็นมาตรฐานเถื่อนเพราะไม่ได้มาตรฐานสากลนั้น ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดการตรวจประเมินคุณภาพที่สร้างความเสียหายที่ยิ่งใหญ่ให้การศึกษาของชาติ เนื่องจากสร้าง 2 มาตรฐาน(Double-standard).ซ้อนกับมาตรฐาน ECPE ที่เป็น Education Criteria for Performance Excellence การมี 2 มาตรฐานทำให้รบกวนเวลาของสถานศึกษาและนักเรียนนิสิต นักศึกษารวมทั้งอาจารย์ทั่วประเทศหลายล้านคนโดยไร้ค่า ไร้เหตุผลและเป็นตัวทำให้การศึกษาของชาติไม่มีคุณภาพ จนการปฏิรูปการศึกษารอบ 10 ปีแรกล้มเหลว
ประโยชน์มีเพียงได้รักษาหน้าของบรรดาผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาฯที่ขาดคุณสมบัติแต่อาสาสร้างมาตรฐานเถื่อน 9 องค์ประกอบดังกล่าว
วิธีแก้วิกฤติเลวร้าย 2 มาตรฐานการศึกษาของชาติที่กำลังคุกคามกระทรวงศึกษาธิการและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศอยู่ขณะนี้ทำได้ไม่ยาก...โดยให้ยึดมาตรฐาน ECPE เพียงมาตรฐานเดียวสำหรับการศึกษาทุกระดับและขจัดมาตรฐานที่ 2 อย่าให้เหลือเยื้อใย