ความเห็น: 5
การประสานงานวิจัยแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา ม.อ. ไปสู่มหาวิทยาลัยเน้นวิจัย
จากการเข้าร่วมนำเสนอโครงการพัฒนางาน “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ซึ่งเป็นเวทีสำหรับสายสนับสนุน (สาย ข, ค) โดยเฉพาะ จัดโดยกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ณ ห้องประชุม 210 สำนักงานอธิการบดี ดิฉัน น.ส.ศศิธร คงทอง และน้องเจนจิรา สมชาติ เข้าร่วมในฐานะ เป็นผู้นำเสนอโครงการพัฒนางานของสำนักงานอธิการบดี (เนื่องจากสังกัดเดิม ลำดับที่ 8 ชื่อโครงการ การประยุกต์ใช้ Share.PSU ทำจดหมายข่าววิจัย Online)
ในครั้งแรก ดิฉันคิดว่าคงไม่เข้าร่วมดีกว่า เนื่องจากได้รับแจ้งอย่างกระทันหันและเห็นรายชื่อโครงการพัฒนางานทั้งหมดที่นำเสนอในวันนั้น เป็นโครงการที่คณะ/หน่วยงานคัดกรองและส่งเข้าประกวดระดับมหาวิทยาลัย มีทั้งหมด จำนวน 17 โครงการ โดยแบ่งเป็น ประเภทนวัตกรรม 6 โครงการ และประเภททั่วไป 11 โครงการ ไฟล์แนบ <http://share.psu.ac.th/file/sasitorn.k/all-unit-present-.pdf > ซึ่งดิฉันคงไม่ติดฝุ่นหรอก .... แต่ไม่เป็นไร คิดใหม่ก็แล้วกัน ถือว่า เป็นโอกาสเปิดหูเปิดตา ได้พบเพื่อน พี่ น้อง ฯลฯ ใหม่ๆ เผื่อมีอะไรดีๆ ในชีวิตอีกอย่าง ซึ่งแต่ละวันคนเราควรได้อะไรใหม่ๆ สำหรับตัวเองอย่างน้อย 1 อย่าง (พี่ที่ดิฉันรักและเคารพแนะนำมา) และเป็นโอกาสสำหรับ pr หน่วยงาน RDO หรือ สำนักวิจัยและพัฒนา นั่นเอง
จากการเข้าร่วมวันนั้น ดิฉันมีข้อเสนอต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัย ขอเสนอผ่าน blog แบบไม่เป็นทางการ ดังนี้
1. สืบเนื่องจากโครงการนวัตกรรม หลายโครงการสามารถต่อยอดทางด้านธุรกิจได้ ซึ่งบางโครงการก็ได้ดำเนินการด้านธุรกิจไปบ้างแล้วในปัจจุบัน เช่น รางวัลชนะเลิศ คือ อุปกรณ์เผาสารตัวอย่าง ทนอุณหภูมิ 1,500 องศาเซลเซียส โดย น.ส.นุชรีย์ ชมเชย คณะวิทยาศาสตร์
ข้อเสนอ เชิญผู้แทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (เครือข่ายของสำนักวิจัยและพัฒนา) เข้าสังเกตการณ์ เมื่อจัดเวทีที่มีผลงานประเภทต่อยอดด้านธุรกิจได้ ซึ่งรวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยที่มีผลงานประเภทนี้ด้วย
2. การจัดกิจกรรมนี้ และการจัด วันนักวิจัย ม.อ. ที่สำนักวิจัยฯ เป็นเจ้าภาพ
ข้อเสนอ น่าจะจัดรวมกับ วันนักวิจัย ม.อ. ในฐานะเจ้าภาพร่วม โดย กองการเจ้าหน้าที่ รับผิดชอบและดำเนินการทุกอย่างตามรูปแบบเดิม เพียงแค่ผนวกงานเข้าด้วยกัน ซึ่งหากเป็นไปได้จะสร้างบรรยากาศให้คึกคัก และเป็นวันนักวิจัย ม.อ. จริงๆ ที่เต็มรูปแบบ และเมื่อได้ภาคีร่วมจัดงาน วันนักวิจัย ม.อ. เพิ่มขึ้น หากจะจัด ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ ก็จะดูไม่โหรงเหรง (เดิมใช้ โหลงเหลง ขอแก้ไขค่ะ) และดูมีคุณค่าเป็นภาพรวมของมหาวิทยาลัย หรือ หากกิจกรรมประกวดโครงการพัฒนางาน จำเป็นต้องจัดก่อน ก็ขอให้คนที่ได้รางวัลมารับมอบเกียรติบัตร ในวันนักวิจัย ม.อ. ก็ได้ (ณ ปี 2552 ได้ผนวกส่วนของบัณฑิตวิทยาลัยเข้ามาแล้ว แต่น่าจะปรับเป็นเจ้าภาพร่วม โดยเจ้าหน้าที่ของบัณฑิตวิทยาลัยมาดำเนินการ ตลอดจนต้อนรับแขกเอง)
3. สืบเนื่องจากโครงการฯ ประเภททั่วไป ชื่อ การทำปุ๋ยหมัก โดย นายจรัส ชูชื่น โครงการจัดตั้งกองอาคารสถานที่ วข.ปัตตานี
ข้อเสนอ ต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยและต่อเจ้าหน้าที่ส่วนงานอาคารและสถานที่ของแต่ละคณะ/หน่วยงาน/วิทยาเขต/เขตการศึกษา น่าจะทำโครงการพัฒนางานเกี่ยวกับการทำปุ๋ยจากขยะเปียก ขยะสด รวมถึงโครงการแยกขยะ เพราะขณะนี้หลายบริเวณโดยเฉพาะโรงช้างของวิทยาเขตหาดใหญ่ มีกลิ่นซึ่งไม่มั่นใจถึงที่มาและสาเหตุ
4. จากโครงการพัฒนางานที่ได้รับรางวัลบางโครงการ ดิฉันรู้และมีข้อมูลว่า บางคณะ/หน่วยงาน ไม่จัดเป็นการพัฒนางาน หรือไม่มีการจัดประกวดโครงงานประเภทนี้
ข้อเสนอ เชิงเป็นคำถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่บุคคลหรือคณะบุคคลจะส่งเข้าประกวดโดยตรง โดยเสนอผ่านคณะ
5. ทุนวิจัย/รางวัลต่างๆ สำหรับผู้ที่มีผลงานแต่ละประเภท สามารถเพิ่มคุณค่า (รวมมูลค่า) พัฒนาต่อยอดได้ ข้อมูลเพิ่มเติม แวะเวียนไปที่ สำนักวิจัยฯ http://rdo.psu.ac.th
ข้อเสนอ บุคลากร ม.อ. ทุกสายงาน (สาย ก ข และ ค) ควรเข้าไปศึกษาข้อมูลสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ท่านควรจะได้รับเมื่อท่านมีคุณสมบัติเหมาะสมแล้ว
หลังจากเขียนบันทึกนี้ จริงๆ มีอีกหลายประเด็น ดิฉันได้ pr หน่วยงานใหม่ ที่เรียกว่า CILO ไปแล้วด้วย (ใครอยากรู้ว่า CILO คืออะไร บอกคร่าวๆ ว่าเป็นหน่วยประสานงานวิจัยอุตสาหกรรมและชุมชน ...มากกว่านี้ ขอเชิญ โทร. 6945, 6947 ได้ค่ะ) คิดไปคิดมา...นึกโยงกับหัวเรื่อง ดิฉันน่าจะทำเป็นโครงการวิจัยสถาบันได้นะเนี่ย ... ใครจะร่วมทำงานนี้กับดิฉันบ้างเอ่ย ???
ศศิธร คงทอง
สำนักวิจัยและพัฒนา (RDO)
3 มิถุนายน 2522
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « pr : ขอเชิญฟังบรรยายด้านเทคโนฯ ย...
- ใหม่กว่า » pr : ขอเชิญร่วมสัมมนาฯ เทคโนโลยี...
ความเห็น
![]() |
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมาย คำว่า "โหรงเหรง" ว่า "มีน้อย บางตา" คำว่า "โหลงเหลง" ไม่มีบัญญัติศัพย์ในพจนานุกรมครับ
มีแต่คำว่า "โหลงโจ้ง" หมายถึง ลักษณะมีแต่น้ำเป็นส่วนใหญ่ แทบไม่มีเนื้อเลย เช่น "แกงมีแต่น้ำโหลงโจ้ง"
- ขอบคุณทุกความคิดเห็นที่เข้ามาร่วม ลปรร ค่ะ ตั้งแต่พี่มอนลี่ มาแบบ cheer leader เลยนะคะ ... สู้ สู้ เช่นกันค่ะ
- น้องหม่อม pr สาวสวยของเราเข้ามา 'ment ค่อนข้างดึกนะคะ ขอซ้ำคำของน้องเองนั่นหล่ะค่ะ ที่ว่า ... หากมีคนกลับมามอง คงเกิดประโยชน์ต่อสังคม ม.อ. ได้อีกไม่น้อยเลย... สู้ สู้ เช่นกันจ้าาา
- ขอบคุณ คุณชลิตร สำหรับการพิสูจน์อักษรให้ค่ะ ปกติจะมีพจนานุกรมใกล้ตัว ทำ 5ส ทีเดียวไม่รู้ไปอยู่ไหน (โทษพจนานุกรมซะนี่เรา) ...คงจำคำนี้ไปตลอดแน่เลยค่ะ ขอบคุณนะคะ
02 มิถุนายน 2552 19:49
#44815