ความเห็น: 0
การเลือกคอลัมน์ GC (เฟสคงที่ของคอลัมน์)
ข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไปในการเลือกใช้คอลัมน์ให้เหมาะกับสารที่สนใจ อาจเป็นคอลัมน์แรกที่นำมาใช้ในการทดลองทดสอบครั้งแรก
การเลือก เฟสคงที่ของคอลัมน์
1. เลือกเฟสคงที่ ที่มีเฟสตรงกับตัวถูกละลายของตัวอย่าง เช่น เลือกเฟสคงที่มีขั้วสำหรับตัวอย่างที่มีขั้ว
2. หากตามข้อ 1 ไม่แน่ใจ ให้เลือกเฟสคงที่ ที่มีขั้วต่ำไว้ก่อน เพราะให้จะให้การแยกที่ดี และที่สำคัญเฟสคงที่ขั้วต่ำจะมีอายุการใช้งานที่นานกว่าเฟสขั้วสูง
3.สำหรับงานโดยทั่ว ๆ ให้เลือกใช้คอลัมน์ที่ถูกเลือกใช้บ่อย ๆ คือ DB-1, หรือ DB -5 (ตัวอักษรข้างหน้าจะขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทที่จำหน่ายคอลัมน์ ซึ่งจะมีชื่อเฉพาะของตัวเอง แต่ตัวเลขข้างหลังจะเป็นตัวบอกชนิดของเฟสเหมือนกัน)
4. สำหรับตัวถูกละลายที่มีขั้วหรือกลุ่มที่มีสร้างพันธะไฮโดรเจน ให้เลือกใช้เฟสคงที่คอลัมน์กลุ่ม cyanopropyl (XX-1301, XX-1701, XX-225 and XX-23) หรือเฟสคงที่คอลัมน์กลุ่ม Carbowax (XX-WAX และ XX-FFAP) แต่อย่าลืมดูอุณหภูมิสูงสุดที่คอลัมน์ทนได้ในการใช้งานด้วยเพราะคอลัมน์พวกนี้ ทนอุณหภูมิไม่ได้สูงมาก
5. สำหรับไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลขนาดเล็กหรือกลุ่มแก๊สเฉื่อย ให้เลือกใช้คอลัมน์กลุ่ม PLOT column เช่น GS-Q, GS-Alumina, หรือ GS-Molesieve
6. ถ้าเป็นไปได้ให้หลีกเลี่ยงคอลัมน์ที่ทำให้ตัวตรวจวัดเกิดสัญญาณได้ เช่น เฟสคงที่คอลัมน์กลุ่ม cyanopropyl หลีกเลี่ยงกับตัวตรวจวัด NPD หรือ เฟสคงที่คอลัมน์กลุ่ม trifluoropropyl หลีกเลี่ยงกับตัวตรวจวัด ECD
7. โดยส่วนใหญ่เกือบ 90% ของงานด้านการวิเคราะห์ คอลัมน์ที่ถูกเลือกใช้มากที่สุด 5 อันดับแรก ๆ คือ DB-1, DB-5, DB-1701, DB-17 และ DB-WAX
Ref: Gas Chromatography Troubleshooting and Reference Guide , http://www.chromacademy.com
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « MS แหล่งผลิตไอออนและการสอบเทียบผ...
- ใหม่กว่า » การเลือกคอลัมน์ GC (เส้นผ่านศูนย...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้