ความเห็น: 2
HPLC กะ GC
HPLC กะ GC
HPLC
หลักการทำงาน
HPLC ( High Performance Liquid Chromatography )
เครื่อง HPLC ( High Performance Liquid Chromatography ) เป็นเครื่องมือใช้สำหรับแยกสารประกอบที่สนใจที่ผสมอยู่ในตัวอย่าง โดยกระบวนการแยกสารประกอบที่สนใจจะเกิดขึ้นระหว่างเฟส 2 เฟส คือ เฟสอยู่กับที่ ( column ) กับ เฟสเคลื่อนที่ ( mobile phase ) ซึ่งสารจะถูกแยกออกมาในเวลาที่ต่างกัน โดยสารผสมที่อยู่ในตัวอย่างสามารถถูกแยกออกจากกันได้นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเข้ากันได้ดีของสารนั้นกับ mobile phase หรือ stationary phase สารประกอบตัวไหนที่สามารถเข้ากันได้ดีกับ mobile phase จะเคลื่อนที่ผ่าน column ได้เร็วสารนั้นก็จะถูกแยกออกมาก่อน ส่วนสารที่เข้ากันได้ไม่ดีกับ mobile phase หรือเข้ากันได้ดีกับ stationary phase จะเคลื่อนที่ผ่าน column ได้ช้า ก็จะถูกแยกออกมาทีหลัง โดยสารที่ถูกแยกออกมาได้นี้จะถูกตรวจวัดสัญญาณด้วยตัวตรวจวัด สัญญาณที่บันทึกได้จากตัวตรวจวัดจะมีลักษณะเป็นพีค ซึ่งจะเรียกว่า โครมาโตแกรมโดย HPLC สามารถทดสอบได้ทั้งเชิงคุณภาพ และทดสอบเชิงปริมาณ โดยการเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน
ส่วนประกอบหลักของเครื่อง HPLC
1. Mobile phase / Solvent : หรือตัวทำละลายที่ใช้ในการชะหรือแยกตัวอย่าง เป็นเฟสเคลื่อนที่ มีลักษณะเป็นของเหลว ทำหน้าที่ในการนำสารตัวอย่างและตัวทำละลายเข้าสู่ stationary phase ( ในที่นี้คือ คอลัมน์ ) เพื่อให้เกิดกระบวนการแยกภายในคอลัมน์
2. Degaser : ทำหน้าที่กำจัดฟองอากาศ อากาศที่มีอยู่ใน mobile phase เพื่อไม่ให้ฟองอากาศเข้าสู่ column และ detector
3. Pump : ทำหน้าที่ดึงตัวทำละลาย ( mobile phase ) เข้าสู่ระบบ HPLC
4. Injector / Autosampler : ทำหน้าที่ในการฉีดสารตัวอย่างเข้าระบบ HPLC
5. Column : หรือจะเรียกว่า stationary phase มีลักษณะเป็นของแข็งหรือเจล เป็นเฟสอยู่กับที่ ทำหน้าที่ให้เกิดกระบวนการแยกของสารที่สนใจ โดยการบวนการแยกเกิดขึ้นระหว่าง mobile phase กับ stationary phase
แต่สำหรับ HPLC : Agilent 1100 มีอุปกรณ์เพิ่มเติมที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ Column จึงเรียกว่า column thermostat
6. Detector : คือ ตัวตรวจวัดสัญญาณ ทำหน้าที่ในการตรวจวัดสัญญาณของสารที่สนใจที่ได้จากกระบวนการแยก มีหลายชนิดด้วยกัน การเลือกใช้ขึ้นกับตัวอย่างที่สนใจว่าสามารถตอบสนองกับ Detector ชนิดไหนได้ดี
ชนิดของ Detector
อ่านได้ที่นี่ http://share.psu.ac.th/blog/science-equipment/1031
และที่นี่ http://share.psu.ac.th/blog/science-equipment/1032
ส่วน GC
ส่วนประกอบของแก๊สโครมาโตกราฟี
- Carrier gas
- Inlet
- Column
- Detector
- Data Acquisition
กลไกการแยกของสารใน GC
เทคนิคโครมาโตกราฟีเป็นวิธีการแยกสารโดยอาศัยการกระจายตัวของสารที่แตกต่างกันระหว่าง 2 เฟส คือ mobile phase และ stationary phase ความแตกต่างของระยะเวลาที่สารองค์ประกอบถูกหน่วงอยู่ในคอลัมน์ขึ้นอยู่ความแตกต่างของความสามารถในการละลายของสารประกอบ ความแตกต่างของอันตรกิริยาระหว่าง stationary phase กับสารประกอบ และระหว่าง mobile phase กับสารประกอบมีผลให้สารองค์ประกอบถูกชะออกจากคอลัมน์ที่เวลาต่างๆกันแต่ในหลักการแยกของ GC สารตัวอย่างจะไม่ทำปฏิกิริยากับ mobile phase หรือ Carrier gas เพราะ Carrier gas จะต้องเป็นแก๊สเฉื่อย (เช่น He, H2 หรือ N2) ซึ่งไม่ทำปฏิกิริยา หรือเปลี่ยนคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารตัวอย่าง ดังนั้นการแยกที่เกิดขึ้นจึงอาศัยความแตกต่างในการละลายกับ stationary phase ของสารองค์ประกอบแต่ละตัว ถ้าสารองค์ประกอบตัวใดที่ละลายได้ดีกับ stationary phase มากที่สุดก็จะถูกหน่วงอยู่ในคอลัมน์นานที่สุด และมี retention time มากที่สุด ในทางตรงกันข้าม ถ้าสารองค์ประกอบตัวใดที่ละลายได้น้อยกับ stationary phase ก็จะไม่ถูกหน่วงอยู่ในคอลัมน์ และมี retention time น้อย
เทคนิคโครมาโตกราฟีสามารถแบ่งตามลักษณะของ stationary phase ได้ 2 ประเภท คือ แก๊สโครมาโตกราฟี (Gas Chromatography, GC) และลิควิดโครมาโตกราฟี (Liquid Chromatography, LC) สำหรับใน GC นั้นยังจำแนกตามลักษณะของ stationary phase ได้ดังนี้
- Stationary phase เป็นของแข็ง การแยกสารจะเกิดขึ้นโดยสารจะถูกดูดซับ (Adsorption) อยู่บนผิวของ stationary phase ที่เป็นของแข็ง ไม่มีสารอื่นใดเคลือบอยู่เลย เรียกเทคนิคว่า Gas Solid Chromatography หรือ GSC ส่วนใหญ่ใช้ในการแยกสารโมเลกุลเล็กๆ โดยเฉพาะในการทดสอบแก๊ส เช่น H2S และ CH3OH
- Stationary phase เป็นของเหลว เคลือบอยู่บนผิวของอนุภาคของแข็งที่เป็นตัวรองรับ หรือ เคลือบอยู่ที่ผิวด้านในของคอลัมน์ซิลิกาขนาดคาปิลลารี สารที่เป็นแก๊สหรือไอของสารที่ผสมกันอยู่ เมื่อผ่านคอลัมน์จะสามารถแยกออกจากกันได้ด้วยการกระจายตัวที่แตกต่างกันของแก๊สหรือไอระหว่าง Carrier gas กับ stationary phase กลไกการแยกลักษณะนี้เรียกย่าการพาร์ติชัน (Partition) เทคนิคดังกล่าวนี้คือ Gas Liquid Chromatography หรือ GLC เป็นเทคนิคที่นิยมใช้มากถึง 90% ในปัจจุบัน
- Packed Column เป็นคอลัมน์ที่มีเส้นผ่าศูนย์ใหญ่ ความยาวของคอลัมน์มักจะไม่เกิด 10 เมตร ภายในคอลัมน์ตันบรรจุด้วย stationary phase
- Capillary Column เป็นคอลัมน์ที่มีเส้นผ่าศูนย์เล็ก ประมาณ 0.1-0.53 มิลลิเมตร มีความยาวตั้งแต่ 10-100 เมตร ภายในกลวง และ stationary phase จะถูกฉาบอยู่ที่ผนังด้านในของคอลัมน์เป็นฟิล์มบางๆ ตลอดความยาวของคอลัมน์
คอลัมน์
คอลัมน์ที่ใช้ในการแยกสารด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโตกราฟีมี 2 ประเภทคือInlet systems
1. Split/splitless inlet
2. Cool On-column inlet
GC detector
1. Flame Ionization Detector (FID)
2. Thermal Conductivity Detector (TCD)
3. Electron Capture Detector (ECD)
4. Nitrogen Phosphorous Detector (NPD)
5.Flame Photometric Detector (FPD)
......................................................................................................................
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ HPLC ...
- ใหม่กว่า » Chromatogram-RT N/Protein Shift
ความเห็น
![]() |
อยากทราบข้อมูล รายละเอียด ของ GC-MS กับ GC-FID ว่ามีหลักการยังไง ต่างกันยังไงอ่ะครับ (ขอบคุณครับ)
04 มกราคม 2553 14:45
#52697
ข้อมูลดีจังเลย
กำลังต้องการอยู่พอดี
วันหลังจามาเยี่ยมเยียนใหม่นะ