ความเห็น: 2
เมื่อเครื่องมือเสีย ขั้นตอนง่ายๆ ที่ควรทำ
เมื่อเครื่องมือวิจัยเสีย อย่าเพิงตกใจและรีบด่วนซ่อมให้ทำตามขั้นตอนง่าย ก่อนดังนี้ ผมสรุปมาจากคำแนะนำในการซ่อมเครื่องมือวิจัยฯ ซึ่งจริงๆ มีถึงสิบขั้นตอน แต่ขอรวบรัดย่อๆ ให้เหลือเพียง สี่ข้อที่สำคัญ
1. ยืนยันว่าเครื่องมือเสียจริง โดยทดลองใช้ตามคู่มือโดยปกติอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าเสียและเสียในอาการตามที่ได้รับแจ้งจริง หรือให้ผู้แจ้งทดสอบให้ดูถึงความผิดปกติ
หลายครั้งที่เครื่องมือเพียงแค่ทำงานผิดปกติเพียงครั้งเดียว และหากรีเซต หรือเปิดเครื่องปิดใหม่อาการก็หายไป และไม่เกิดอาการอีก อย่าด่วนตั้งสมมุติฐานและดำเนินการถอดชิ้นส่วนออกมาซ่อมโดยไม่ตรวจสอบ อาจเข้าทำนองเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่ายก็ได้
2. ตรวจสอบเครื่องในส่วนที่ง่าย ไปหาส่วนที่ยาก
โดยทั่วไปแล้วเครื่องมือ จะไม่เสียหายหนักๆ แต่มักจะผิดปกติเพียงเล็กน้อย ดังนั้นทุกสาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการเสีย ให้ดำเนินการจากงานที่ง่ายๆ ก่อนจะได้ไม่เปลืองแรง เปลืองวัสดุ และลดโอกาสที่จะทำให้เครื่องมือเสียหายมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น HPLC เกิดตันในระบบและความดันสูงผิดปกติ สาเหตุที่เป็นไปได้มีมากมาย เช่น ระบบท่อตัน คอลัมน์ตัน Injector ตัน หรือง่าย PTFE Frit ตัน ซึ่งตรวจสอบง่ายที่สุดเพียงหมุน Purge vale เพื่อเปิดหาก PTFE Frit ตัน จริงความดันจะไม่ลดลง
3. แยกปัญหาออกเป็นส่วนๆ พิสูจน์สมมุติฐาน ที่สงสัยว่าชิ้นส่วนใดเสียหาย
เครื่องมือประกอบไปด้วยชิ้นส่วนมากมายที่ ทำงานเกี่ยวเนื่องกัน หากเราสามารถแยกการทำงานออกเป็นส่วนย่อยและดำำเนินการทดสอบทีละส่วน ตาม function การทำงานของส่วนนั้นๆ ว่าทำงานได้เป็นปกติหรือไม่ จะทำให้เราค้นหาจุดเสียได้ง่าย
4. ในกรณีที่ปัญหารุนแรง การเปลี่ยนอะไหล่จากอีกเครื่องที่เหมือนกันเพื่อทดสอบ อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดี
หลายที่อาจมีเครื่องมือที่ซื้อมาเป็นสองชุด เป็นการดีที่สามารถ ยืมอะไหล่หรือชิ้นส่วนของเครื่องที่ดีนำมาทดสอบกับเครื่องที่เสีย ตามส่วนประกอบที่สงสัยว่าเป็นปัญหาได้ แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวังให้แน่ใจว่าเข้าใจในหลักการทำงานของชิ้นส่วนที่จะเปลี่ยน และมั่นใจว่าไม่ส่งผลเสียหายต่อชิ้นส่วนที่นำมาทดสอบ เพราะดีไม่ดีอาจทำให้เครื่องมือที่ดีอีกเครื่องเสียหายตามไปด้วย
ขอยกตัวอย่างลูกค้าของศูนย์เครื่องมือฯ ที่หนึ่งมีเครื่องมือหลายตัว ตัวหนึ่งเสีย ตามอาการแล้วคาดว่าน่าจะเสียตรงบอร์ดตรวจวัดสัญญาณ ซึ่งถูกต้อง แต่ที่มากกว่านั้นคือมันเสียด้วยอาการ Short ของ C Tantalum ทำให้ Power supply เสียหายไปด้วยเพื่อยืนยัน ลูกค้าได้นำบอร์ดที่สงสัยว่าเสีย (ซึ่งเสียจริง) ไปทดสอบในเครื่องที่ดี เพื่อดูว่าเสียจริงหรือไม่ ซึ่งผลคือเสียจริง แต่มากกว่านั้นคือทำให้บอร์ดอื่นๆ ของเครื่องที่ดีอยู่เสียตามไปด้วย กว่าจะรู้ก็ตอนย้ายบอร์ดกลับ และผลคือมีเครื่องเสียเพิ่มขึ้นเป็นสองเครื่อง ราคาบอร์ดใหม่นับแสนบาท :)
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะหาสาเหตุขอ...
- ใหม่กว่า » ถึงเวลาต้องทำความสะอาดคอลัมน์ SE...
ความเห็น
![]() |
อ่านแล้วได้ความรู้มาก ชอบที่นำมาบอกต่อให้เป็นความรู้สำหรับรุ่นต่อๆไป ส่วนผมอายุเกิน 60 ปี ตาไม่ดี คงได้แค่อ่านประดับสมองเท่านั้นครับ
26 กรกฎาคม 2556 20:29
#90984
เห็นด้วยกับบันทึกนี้ทุกอย่าง
เรื่องแบบนี้สอนกันยาก ต้องเจอเอง สะสมประสบการณ์เอง ถึงจะรู้...แบบ จขบท. ไงครับ
เอิ้ก เอิ้ก
"ใจสั่งมา"