ความเห็น: 0
ข้อปฏิบัติในการเก็บตัวอย่างน้ำ
การเก็บตัวอย่างน้้า โดยทั่วไปมีข้อที่ควรปฏิบัติ ดังนี้
ก. ก่อนเก็บตัวอย่าง ต้องใช้ตัวอย่างน้้ากลั้ว (Rinse) ขวดเก็บตัวอย่างก่อนสัก 2-3 ครั้ง แล้วจึงบรรจุตัวอย่างน้้าใส่ในขวดเก็บตัวอย่าง ยกเว้นพารามิเตอร์บางชนิดไม่ต้องใช้ตัวอย่างน้้ากลั้ว (Rinse) ได้แก่ ขวดเก็บตัวอย่างน้้าที่ต้องการวิเคราะห์หาสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ ซึ่งล้างด้วย อะซิโตน และ เฮกเซนมาแล้ว และขวดเก็บตัวอย่างที่ต้องการตรวจหาแบคทีเรีย ซึ่งอบฆ่าเชื้อด้วยความร้อนมาแล้ว
ข. การเก็บตัวอย่างน้้าส้าหรับพารามิเตอร์บางชนิด เช่น น้้ามันและไขมัน (Grease & Oil) ไนเตรท (NO3) และ ฟอสเฟต (TP) ไม่ควรบรรจุตัวอย่างน้้าเต็มขวด ต้องเหลือที่ว่างไว้ ประมาณ 1 นิ้ว ส้าหรับเติมสารเคมีรักษาสภาพ ยกเว้นตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์หา บีโอดี (BOD) ปริมาณ ออกซิเจนที่ละลายน้้า (DO) ความเป็นด่าง (Alkalinity) และความเป็นกรด (Acidity) ต้องเก็บตัวอย่างน้้าเต็ม ขวดและปิดฝาให้สนิท เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้อากาศที่เหลืออยู่บนผิวน้้าละลายเข้าไปในตัวอย่าง ซึ่งจะ เป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในตัวอย่าง และจะท้าให้ผลการวิเคราะห์คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้
ค. ขวดเก็บตัวอย่าง ต้องปิดฝาอยู่ตลอดเวลา เมื่อจะเก็บตัวอย่างน้้าจึงเปิดและวาง ฝาขวดให้หงายขึ้น อย่าวางคว่้าลงบนพื้นเพราะจะท้าให้เกิดการปนเปื้อนได้ และเมื่อบรรจุตัวอย่างน้้าลงใน ขวดเรียบร้อยแล้ว ควรปิดฝาขวดให้แน่น และอาจน้าเทปมาพันรอบคอขวดด้วยในกรณีที่ต้องขนส่งตัวอย่าง น้้าในระยะทางไกล
Ref :
1. http://doenv.eng.cmu.ac.th/
2. http://rldc.anamai.moph.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=62&Itemid=449
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ลีน (Lean) ข้อด้อย
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้