ความเห็น: 0
ขีดจำกัดของการทดสอบ
จากบันทึกก่อนหน้าที่ดำขำเคยเขียนถึงเรื่องขีดจำกัดในการทดสอบหาปริมาณสารต่าง ๆ ในตัวอย่าง ซึ่งมีหลายปัจจัยด้วยกันที่เป็นตัวกำหนดขีดความสามารถในการที่จะวัดปริมาณของสารอะไรสักอย่าง นอกเหนือจากค่า LOD และ LOQ ของการทดสอบแล้วนั้น ยังมีเรื่องของรายตัวอย่างของตัวอย่างด้วยที่เป็นตัวสำคัญ สำหรับที่จะเป็นตัวกำหนดว่าเราจะสามารถตรวจวัดปริมาณสารได้หรือไม่
LOQ =limit of quantitation
LOD หมายถึง ค่าความเข้มข้นตํ่าสุดที่วิธีทดสอบสามารถวิเคราะห์ได้
LOQ หมายถึง ค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่วิธีทดสอบสามารถวิเคราะห์ได้ในตัวอย่าง โดยค่าที่รายงานนั้น มี accuracy และ precision ที่ยอมรับได้
LOD และ LOQ หาได้โดยการวัด bank ของตัวอย่าง อย่างน้อย 7 ซ้ำแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยและ SD
LOD =ค่าเฉลี่ยของ sample blank + 3 SD
LOQ = ค่าเฉลี่ยของ sample blank + 10 SD
หากไม่สามารถหา sample bank ได้ให้ทดสอบตัวอย่างที่ความเข้มข้นต่ำ ๆ 7 ซ้ำ
LOD= 3.14 SD (กรณีทำ 7 ซ้ำ)
LOQ= 10 SD
บางครั้งในการจัดซื้อเครื่องมือนั้นเขาได้ระบุค่า LOD มาแล้วด้วย ซึ่งได้จากการวัดสารมารตฐานที่ความเข้มข้นต่ำ ๆ
หากตัวอย่างไม่สามารถตรวจวัดได้ด้วยเทคนิคหรือเครื่องมือนั้น ๆ ได้เราต้องหาวิธีในการเตรีบมตัวอย่างเพื่อกำจัดสิ่งที่เป็นขีดจำกัดในการทตรวจวัดออกก่อน เช่นอาจจะเตรียมด้วยวิธี solent extraction หรือใช้อุปกรณ์ช่วยเช่น Solid phase extraction (SPE) เป็นวิธีเตรียมสารตัวอย่างวิธีหนึ่งซึ่งใช้หลักการ partition เหมือนกับวิธี LLE (Liquid-Liquid Extraction) แต่ต่างกันที่ใช้ของแข็งเป็น ตัวจับสารที่สนใจ โดยของแข็งจะถูกบรรจุอยู่ในแท่งตัวอย่าง นอกจากนี้อาาจะใช้การเจือจางตัวอย่างก็ได้หากสารที่เราสนใจทีปริมาณที่สูง ทั้งนี้การเจือจางมีผลทำให้สารที่เป็นขีดจำกัดนั้นมีปริมาณที่น้อยลง ลดการ interfere ในการทดสอบ
กรณีนี้เช่นการทสอบหาปริมาณธาตุต่าง ๆ โดยใช้เครื่อง ICP-OES นั้นหากตัวอย่างเป็น้ำทะเล หรือมีเกลืออยู่เป็นงค์ประกอบ จะทำให้ไม่สามารถตรวจวัดด้วยเครื่องดังกล่าวได้ เราจะใช้วิธีการเจือจางตัวอย่าง ซึ่งที่ผ่านมาเราเจือจางหลายเท่า มากกว่า 25 เท่า ทั้งนี้เพราะเกลือนั้นจะทำให้ไม่เกิด plasma หรือแม้แต่การทดสอบหาปริมาณธาตุด้วยเทคนิค spectroscopy ก็มีผลต่อการตรวจวัดได้เช่นการทเสอบหาปริมาณโปแทสเซียม ซึ่งใช้ test kit ทั้งนี้ในอุปกรณ์ที่เราใช้ในการทดสอบนั้นจะบุขีดกำกัดในการทดสอบไว้เสมอ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ABS
- ใหม่กว่า » สารสำคัญในถั่งเช่า
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้