ความเห็น: 3
ทำไมต้องใส่สารอะลูมินาเมื่อทดสอบด้วยเครื่อง DTA
บันทึกนี้ ดำขำต้องขอบคุณอาจารย์จาก มอ. สุราษฏร์ธานี ที่มีข้อเสนอแนะที่ทำให้ดำขำได้เข้าใจการทดสอบสารด้วยเครื่อง DTA (Differential Thermal Analyzer) มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องการเตรียมตัวอย่างของการทดสอบนั้น ว่าทำไมเราถึงต้องเติมสาร alumina ลงไปทุกครั้ง
จากประเด็นคำถามที่ อ. ได้ Feedblack กลับมา ดำขำหาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญของบริษัทผู้ผลิตทำให้เข้าใจได้ว่า หากเราต้องการป้องกันไม่ให้ Pan ซึ่งทำจาก Alumina นั้นเสียหาย โดยสารตัวอย่างจะติด PAN ได้นั้นก็ต้องติมสาร Alumina ลงไปผสมด้วยเพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายนี้ เพราะ PAN ราคาต่อชิ้นประมาณ 3300 บาท โดยปกติแล้วศูนย์เครื่องมือฯจะมีการใช้ PAN ซ้ำดังนั้นจึงต้องเติมสาร Alumina ทุกครั้ง แต่สำหรับกรณีไม่ต้องการใช้ PAN ซ้ำก็ไม่จำเป็นต้องเติมสาร Alumina ลงไป สำหรับสารที่จะมีโอกาสทำให้ PAN เสียหายได้นั้นส่วนใหญ่จะเป็นตัวอย่างที่มีกลุ่มโลหะผสมอยู่ (Organometalic compounds)
สำหรับงานของ อ. แจ้งว่าไม่ต้องการใช้ Pan ซ้ำ และยินดีจ่ายค่า pan แต่เราได้เติมสาร Alumina ลงไปด้วย ซึ่งผลการทดสอบเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าระหว่างเติมสารกับไม่เติมสาร Alumina นั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งการที่ อ. แจ้งว่าไม่ต้องการใช้ PAN ซ้ำ เพราะรู้ดีว่าสารตัวอย่างติด pan แน่ ดังนั้นจึงไม่ต้องให้เติมสาร alumina ลงไป เพราะที่ผ่านมาผลที่ได้หากเติมสาร alumina ลงไปทำให้ข้อมูลที่ได้ผิดพลาด งานนี้เลยต้องทำการทดสอบให้ อ. ใหม่อีกครั้ง ซึ่งจากข้อผิดพลาดนี้ดำขำก็ได้คุยในงานแล้ว ก็จะมีการป้องกันโดยให้ลูกค้าเลือกว่าจะเติมสาร alumina หรือไม่เพื่อยืนยันความต้องการ
![]()
ในความเป็นจริงในการเติมสาร alumina ลงไปนั้นไม่น่ามีผลทำให้ thermogram มีความแตกต่างกัน แต่ผลที่ได้กลับแตกต่างกัน อันนี้ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมอีก แต่อย่างไรก็ตามหากลูกค้าต้องการใช้ Pan ใหม่ทุกครั้งเราก็ไม่จำเป็นเติม Alumina ลงไป
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « Nitrozamines ในผลิตภัณต์ยาง
- ใหม่กว่า » การทดสอบหาปริมาณโปรตีนในน้้ำยางแ...
14 กุมภาพันธ์ 2559 11:31
#104689
คงต้องเอาผลลัพธ์ที่เกิดจากการเติมและไม่เติมมาเปรียบเทียบกันดูครับ