ความเห็น: 0
ความดันไอ
ปัจจุบันนี้ต้องยอบรับเลยว่า ไม่ว่าเราจะไม่เข้าใจเรื่องอะไร เพียงแค่ค้นหาจากพี่ goo ก็สามารถช่วยหาคำตอบให้เราได้เสมอ วันก่อนในที่ประชุมเกี่ยวกับการพิจาณาสารเคมีที่มีผลกระทบกับผู้ที่ต้องสัมผัสหรือใช้งาน สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งเราต้องทราบถึงข้อมูลความเป็นอันตรายของสารนั้นๆ เพื่อเป็นการป้องกันในการใช้งานสารนั้นได้อย่างเหมาะสม
สำหรับการพัฒนาห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางเคมี ซึ่งศูนย์เครื่องมือฯ และคณะเภสัชศาสตร์เป็นสองหน่วยงานของมหาวิทยาลัย ที่นำร่องขอการรับรองในมาตรฐานนี้ จากการพยายามปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัยนั้นสิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญก็คือการป้องกันความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี
สำหรับโครงการนำร่องนี้ศูนย์เครื่องมือฯ ได้เลือกห้องปฏิบัติการทดสอบด้วยเครื่องโครมาโตรกาฟ ซึ่งมีทั้งเครื่อง GC, HPLC, LC-MS เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำงานที่ใช้สารเคมีกลุ่มของเหลว เช่นตัวทำละลาย จากสมบัติของเหลวกลุ่มของเหลวระเหยง่ายมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งคือความดันไอ จึงเป็นเหตุให้ดำขำต้องไปค้นคว้าว่าความดันไอของสารมีผลกับการระเหยอย่างไรบ้าง ก็ได้ข้อมูลตามความต้องการเลยค่ะ เลยมาแชร์ต่อ
ถ้าเปรียบเทียบระหว่างของเหลวต่างชนิดที่อุณหภูมิเดียวกัน ของเหลวที่ระเหยง่ายจะมีความดันไอสูงกว่าของเหลวที่ระเหยยาก ความดันไอของของเหลวต่าง ๆ จะสัมพันธ์กับจุดเดือดของของเหลวนั้น ๆ ในลักษณะของการแปรผกผัน คือถ้าความดันไอสูงจุดเดือดจะต่ำ เหตุผลคือขณะที่ของเหลวเดือดความดันไอของของเหลวจะเท่ากับความดันบรรยากาศที่กดลงบนผิวหน้าของเหลวในขณะนั้น ฉะนั้นของเหลวที่ระเหยง่ายจึงมีจุดเดือดต่ำกว่าของเหลวที่ระเหยยาก เพราะของเหลวที่ระเหยง่ายจะเป็นไอได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้ความร้อนสูง โอกาสที่ความดันไอจะเท่ากับความดันบรรยากาศที่กดลงบนผิวหน้าจึงเกิดได้เร็วที่อุณหภูมิต่ำ ต่างจากของเหลวที่ระเหยยากที่ต้องใช้ความร้อนสูงเพื่อให้เกิดการระเหย จนมีไอมากพอที่จะทำให้มีความดันไอเท่ากับความดันบรรยากาศ นอกจากนั้นแล้วของเหลวชนิดเดียวกันจะมีจุดเดือดเปลี่ยนแปลงได้เมื่อความดันบรรยากาศบนผิวหน้าของเหลวเปลี่ยนไป เรียกจุดเดือดของของเหลวที่ความดัน 1.00 บรรยากาศว่าจุดเดือดปกติ (normal boiling point) เช่น จุดเดือดปกติของน้ำ คือ 100 oC แต่ถ้าความดันเพิ่มขึ้นจุดเดือดก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ดังกราฟที่แสดงต่อไปนี้
จากกราฟเป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันไอกับจุดเดือดของของเหลว 3 ชนิด คือ ไดเอทิลอีเทอร์ เอทานอลและน้ำ ลำดับของจุดเดือดคือ ไดเอทิลอีเทอร์ < เอทานอล < น้ำ แต่ลำดับของความดันไอคือ ไดเอทิลอีเทอร์ > เอทานอล > น้ำ แสดงว่าสารที่มีความดันไดสูงจะมีจะเดือดต่ำ จุดเดือดที่แสดงในกราฟ เป็นจุดเดือดที่ความดัน 760 torr หรือ 1 atm จึงเป็นจุดเดือดปกติของสารทั้ง 3 ชนิด ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.satriwit3.ac.th/external_newsblog.php?links=1722
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « สารกันบูด:กรดเบนโซอิก
- ใหม่กว่า » ปริมาณโบรอนในดิน
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้