ความเห็น: 0
ปริมาณโบรอนในดิน
บ่อยครั้งที่ดำขำได้รับการสอบถามจากลูกค้าเกี่ยวกับคุณภาพของดิน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตรกรหรือกลุ่มของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของดินที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือดินนั้นเป็นพิษหรือไม่นั้น มีปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งดำขำเองก็แนะนำไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ของดินไป
มีลูกค้ารายหนึ่งจากสามจังหวัดชายแดน มีปัญหาเกี่ยวกับกับดิน และสนใจว่าดินนั้นมีปริมาณโบรอนสูงหรือไม่ และหากโบรอนสูงจะมีกระทบกับการเพาะปลูกอย่างไรบ้าง ซึ่งตอนนั้นดำขำก็แนะนำการทดสอบหาปริมาณโบรอนด้วยเครื่อง ICP-OES และลูกค้าก็ได้รับผลการทดสอบจากศูยน์เครื่องมือฯ ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งดำขำก็พยายามหาข้อมูลเพื่อให้คำแนะนำลูกค้าต่อ ว่าผลที่ได้สรุปว่าปริมาณโบรอนนั้นมีปริมาณที่เหมาะสมหรือมากเกินไป
ซึ่งตอนนั้นดำขำก็ดูประกาศต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องปริมาณของเสียที่ไม่ควรมีในดินก็ไม่มีระบุปริมาณโบรอน แต่มาเมื่อสองวันก่อนดำขำค้นข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของดินก็ไปเจอเอกสารที่พูดถึงปริมาณโบรอนที่มีผลต่อพืช ทำให้นึกถึงลูกค้าที่เคยถามถึงเรื่องนี้ จึงขอมาแชร์ต่อ
ปริมาณโบรอน (B) (ppm) ถ้ามีก็จะทําให้พืชที่ปลูกมีอาการผิดปกติได้ ซึ่งจากตารางที่แสดง ในดินไม่ควรมีโบรอนมากกว่า 3.5 ppm ถ้ามีมากกว่านี้พืชทุกชนิดท่าจะแย่
พืชที่ไวต่อโบรอน เช่น ส้ม อะโวกาโด มะนาว องุ่น แอปเปิ้ล ถั่วพีแคน ถั่วแขก กระเทียม หอมใหญ่ ถั่วคาวพี ถั่วลิสง และ งา เป็นต้น
พืชที่ค่อนข้างทนโบรอนได้ เช่น ทานตะวัน ฝ้าย บรอคคารี แครอท แตงกวา พริกยักษ์ มันฝรั่ง มันเทศ คึนใช่ฝรั่ง ข้าวโพด ฟักทอง แคนตาลูบ กะหลํ่าดอก แรชดิช เทอร์นิบ มะกอก ข้าวบาร์เล่ และข้าวโอต เป็นต้น
พืชที่ทนโบรอนได้ เช่น มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ ผักกาดหอม กลํ่าปลี แครอท แกลดิโอลัส อัลฟาฟา พาสเล บีท ข้าวฟ่าง หน่อไม้ฝรั่ง และอินทผาลัม เป็นต้น
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ความดันไอ
- ใหม่กว่า » การทดสอบหาค่า gel strength
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้