ความเห็น: 0
วิเคราะห์หาปริมาณสารพิวรีนในหน่อไม้ดอง
ดำขำเป็นคนหนึ่งที่ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยได้รับสวัสดิการจากศูนย์เครื่องมือฯ ซึ่งทุกปีก็พบว่ามีเรื่องของปริมาณกรดยูริกสูง นั้นหมายถึงเป็นสัญญาณของการเป็นโรงเก๊าต์ หลายคนเมื่อเป็นโรงเก๊าต์ก็จะระวังเรื่องอาหารการกิน โดยเฉพาะไก่ แต่รู้ไหมมีอาหารหลายชนิดที่มีกรดยูริกสูงไม่น้อยหน้าไก่เช่นเดียวกัน
สารพิวรีน (Purine) เมื่อย่อยสลายตัวแล้วก็จะได้ กรดยูริก (Uric Acid) ซึ่งหากมีการสะสมในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดโรคทางไตเช่น นิ่ว และโรคทางข้อต่อกระดูกเช่น โรคเก๊าต์ สำหรับผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง ควรงดอาหารที่มีพิวรีนสูง และควรลดปริมาณอาหารที่มีพิวรีนปานกลาง
กรดยูริกถูกสร้างโดยร่างกาย 80% และอีก 20% เกิดจากการรับประทาน โดยส่วนมากจะถูกขับออกทางปัสสาวะ และทางอุจจาระ ดังนั้นการดื่มน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการลดความเข้มข้นของสารพิวรีนที่รับเข้าไป
พิวรีน เป็นสารสำคัญในการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต พบอยู่ในเซลล์ โดยมักพบในสิ่งมีชีวิตที่โตไวเช่น สัตว์ปีก ปลา สัตว์ตัวเล็ก โดยเฉพาะในเครื่องในสัตว์ นอกจากนั้นยังพบในพืชที่กำลังเติบโตเช่น ยอดผักและถั่ว ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับไตควรลดปริมาณลง
สำหรับเรื่องของการทดสอบหาปริมาณสารพิวรีนในหน่อไม้ดอง ซึ่งดำขำได้รับการขอคำปรึกษาจากอาจารย์ท่านหนึ่งจากมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยต้องการสอบถามว่าทดสอบได้ไหมเพื่อจะได้วางแผนการวิจัยต่อไปได้ ซึ่งดำขำก็คิดว่าได้อยู่แล้ว เพียงแค่เราต้องทดลองหาความเหมาะสมในการสกัดและการวัดหาปริมาณสารดังกล่าว ซึ่งจากการสืบค้นก็ทดสอบโดยใช้เทคนิค HPLC หรือ LC-MS-MS ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือการจัดซื้อสารมารฐานพิวรีนด้วย
ดำขำคิดว่าทุกๆ การทดสอบหากเป็นเรื่องใหม่ในการทดสอบต้องลงทุนสำหรับการทรัพยากรทั้งหมด และเวลาในการทดลองทำการทดสอบ ซึ่งจากที่ผ่านมา ดำขำได้รับฟังจากลูกค้ามีหน่วยงานน้อยมากที่จะพยายามทำให้ในลักษณะแบบนี้ ซึ่งต้องมีการลงทุนสูงและใช้เวลาในการทดสอบนาน เราเองก็เป็นกังวลเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ปัจจุบันเราก็จะต้องมีการให้ชำระเงินล่วงหน้าและต้องคิดค่าบริการที่สูงกว่าการทดสอบที่มีให้บริการอยู่แล้ว ทั้งนี้หากลูกค้ายินดี เราเองก็ยินดีให้บริการเช่นกัน
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « MLSS และ MLVSS
- ใหม่กว่า » สารพิษในทุเรียนมีจริงหรือ?
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้