comment: 0
สารรักษาสภาพน้ํ้ำยางไร้แอมโมเนีย (TAPS)
ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ต้องมีการใช้สารเคมีไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับการผลิตหรือการทดสอบนั้น ๆ ซึ่งทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะรู้ดีว่ามีความไม่ปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งจำเป็นต้องมีการป้องกัน หากป้องกันไม่ได้ก็ต้องพยายามเลือกใข้สารเคมีที่เป็นพิษน้อยที่สุด หรือไม่มีเป็นพิษเลยก็จะดี แต่ในปัจจุบันยากมากที่เราจะสามารถเลือกใช้สารเคมีทดแทนสารเคมีเป็นพิษ แต่หากมีก็ควรจะเลือกใช้
วันนี้ดำขำนำข้อมูลของการใช้สารเคมีทดแทนที่ไม่มีความเป็นพิษ ซึ่งเป็นทางเลือกของอุตสาหกรรมน้ำยางข้น ซึ่งส่วนใหญ่สารเคมีที่ใช้ในการรักษาสภาพน้้ำยางสดและน้ํ้ำยางข้นในปัจจุบันคือ แอมโมเนีย หรือแอมโมเนียร่วมกับสารซิงก์ออกไซด์ (ZnO) และสารเททระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ (TMTD) ซึ่งสารนั้นก็คือ สาร TAPS (Thai Advanced Preservative System) ซึ่งเป็นผลงานได้รับสิทธิบัตไทย และเป็นผลงานจากคณะวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้พัฒนาสารรักษาสภาพน้้ำยางใหม่ที่ไม่มีกลิ่นฉุนของแอมโมเนีย สามารถรักษาสภาพน้ำยางสดและน้ํายางข้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นพิษต่ํ่ำและเป็นมิตรต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีมากหากได้มาใช้ทดแทนในอุตสหกรรมน้ำยางข้น
แอมโมเนียเป็นสารที่ระเหยง่ายและมีกลิ่นรุนแรงมาก เมื่อระเหยสู่บรรยากาศทําให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ส่วน TMTD เป็นสารที่สามารถเปลี่ยนไปเป็นสารก่อมะเร็งได้ จึงไม่ปลอดภัยต่อการนําไปใช้งาน นอกจากนี้น้ํ้ำยางที่เก็บรักษาด้วยแอมโมเนียยังมีสมบัติไม่คงที่ ทําให้เป็นปัญหาต่อการนําไปใช้งาน
จากที่ดำขำได้เข้าไปเยี่ยมโรงงานหลายโรง ที่ผลิตน้ำยางข้น สิ่งแรกที่ได้กลิ่นเมื่อเข้าไปคือแอมโมเนีย ยังนึกสงสัยว่าอยู่กันได้อย่างไร หรือว่าจมูกไม่รับกลิ่นแล้ว ดำขำอดเป็นห่วงคนทำงานไม่ได้ แต่ก็เป็นอาชีพเขา หากทางโรงงานได้ปรับเปลี่ยนการใช้สารเคมีเป็น TAPS น่าจะดีต่อคนทำงานและสิ่งแวดล้อมด้วย แต่ก็เรื่องต้นทุนในการใช้สารเคมีน่าจะต่างกันมาก โรงงานต้องรับไปพิจารณาต่อไป
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « Formaldehydes ในน้ำยาง
- ใหม่กว่า » การทดสอบ ฺBOD (Biochemical Oxyge...
Comment on this Post