ความเห็น: 2
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ Business Continuity Management (BCM)
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ Business Continuity Management (BCM)
หมายถึง องค์รวมของกระบวนการบริหารซึ่งชี้บ่งภัยคุกคามต่อองค์กร และผลกระทบของภัยคุกคามนั้นต่อการดำเนินธุรกิจ และให้แนวทางในการ สร้างขีดความสามารถให้องค์กรมีความยืดหยุ่น เพื่อการตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิผล กระบวนการ BCM นั้นต้องประกอบไปด้วย Business Continuity Plans (BCP) หรือ แผนความต่อเนื่องทาง ธุรกิจ และ Incident Management Plans (IMP) หรือ แผนจัดการอุบัติการณ์ฉุกเฉิน
โดย BCP คือ เอกสารที่รวบรวมขั้นตอน และข้อมูลซึ่งทำให้องค์กรพร้อมที่จะนำไปใช้เมื่อเกิดอุบัติการณ์ เพื่อให้ สามารถดำเนินการในกิจกรรม หรือกระบวนการหลักในระดับที่กำหนดไว้
ส่วน IMP คือ แผนหรือแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้เพื่อใช้เตรียมความพร้อมของระบบป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย ภัยธรรมชาติ สารเคมีรั่วไหล การก่อวินาศกรรม ฯลฯ ที่อาจเป็นเหตุ ให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม
กรอบแนวทางการบริหารจัดการ BCM
มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 6 องค์ประกอบหลัก หรือเรียกว่าเป็นวงจรการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM Life Cycle) โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การรบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM Policy and Programme Management)
คือ การจัดทำกรอบนโยบายและการบริหารจัดการโครงการหรือการกำหนดโครงสร้างหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากร
2. ปลูกฝัง BCM ให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร (Embedding BCM in the Organization’s Culture)
3. เข้าใจองค์กร (Understanding the organization) หมาย ถึง ความรู้ความเข้าใจสภาพขององค์กรว่าจะรับผลกระทบทางธุรกิจหรือความเสี่ยงได้เท่าใด
3.1 การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis – BIA)
การทำ BIA เป็นการพิจารณาความสำคัญแต่ละผลิตภัณฑ์,บริการ ,กระบวนการ และกิจกรรม ขององค์กร เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบที่เกิดขึ้นหากเกิดการหยุดชะงัก และความจำเป็นในการเร่งกู้คืนตามลำดับความสำคัญของงาน เพื่อไม่ให้บริษัทเกิดความเสื่อมเสียหรือเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง
http://www.isotoyou.com/index.php/article/532-iso22301-bia.html
3.2 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment – RA)
เพื่อทำให้รู้จุดอ่อนและสิ่งที่คุกคามต่อการดำเนินงานของ องค์กร เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้สงครามหรือการประท้วง และนำผลการประเมินไปกำหนดวิธีดำเนิน การเพื่อลดโอกาสของการหยุดชะงักหรือลดเวลาของการหยุดชะงัก และจำกัดผลกระทบของการหยุดชะงัก
4. กำหนดกลยุทธ์ BCM (Determining BCM strategy) คือ การกำหนดแนวทางในการตอบสนองต่อการหยุดชะงักของการดำเนินงานขององค์กร ได้แก่กลยุทธ์กู้คืน การดำเนินงาน (Recovery Strategy)
5. พัฒนาและจัดเตรียมวิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉิน (Developing and Implementing a BCM Response)
6. ทดสอบ ปรับปรุง และทบทวนแผน (Exercising, Maintaining and Reviewing)
ความเห็น
![]() |
20 December 2019 13:50
#110583
ขอบคุณข้อมูลที่มีความรู้มากๆนะคะ ดาวน์โหลด slotxo