ความเห็น: 0
ลด ละ เลิก การใช้โฟม (No Foam) บรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2558 มหาวิทยาลัยขอความร่วมมือทุกคณะ/หน่วยงาน ลด ละ เลิก การใช้โฟม (No Foam) บรรจุอาหารภายในมหาวิทยาลัย
โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนดำเนินการรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้โฟม (No Foam) บรรจุอาหารทั่วประเทศ ทั้งยังมีแนวทางการดำเนินงานรณรงค์ลด ละ เลิก ที่ชัดเจน
สนับสนุนให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนโฟม เช่น ใบตอง กระดาษ ชานอ้อย หรือผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพหรือย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
อันตรายจากภาชนะโฟม
ในชีวิตประจำวันเราต้องพบเจอกับกล่องโฟมที่ มากับอาหารทั้งคาวและหวาน โดยเฉพาะร้านอาหารตามสั่งเจ้าประจำที่ซื้อขายกันอยู่เกือบทุกวัน มีน้อยร้านมากที่ไม่ใช่กล่องโฟมในการบรรจุอาหาร เพราะเป็นต้นเหตุการเกิดมะเร็งที่ทำให้คนไทยเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นทุกปี
ต้นเหตุการเกิดมะเร็งที่สำคัญนั้นเกิดจากอาหารต่างๆ ที่ถูกบรรจุใส่ไว้ในกล่องโฟม ซึ่งมี “สารสไตรีน (Styrene)” ซ่อนอยู่ ต่อให้การใช้กล่องโฟมสะดวกสบายแค่ไหน ก็ต้องแลกกับโรคมะเร็งที่พร้อมจะเข้าสู่ร่างกายได้ตลอดเวลา โดยจะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายที่ละเล็กทีละน้อย ค่ยอๆ สะสมจนเป็นโรคร้ายในที่สุด
นพ.วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ บริษัทบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความรู้ว่ากล่องโฟมที่ใช้ตามท้องตลาดทั่วไป เป็นของเสียเหลือทิ้งสีดำๆ จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ประกอบด้วย สไตรีน ซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง
ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับสารสไตรีนในกล่องโฟมได้ง่ายถึง 5 ปัจจัย ได้แก่
1.อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นหรือเย็นลงทำให้สไตรีนซึมเข้าสู่อาหารได้สูง
2.ถ้าปรุงอาหารโดยใส่น้ำมัน น้ำส้มสายชูแอลกอฮอล์ จะดูดสารสไตรีนจากกล่องโฟมได้มากกว่าปกติ
3.ถ้าชื้ออาหารใส่กล่องทิ้งไว้นานๆ ไม่ได้รับประทาน อาหารจะดูดสารสไตรีนได้มาก
4.ถ้านำอาหารที่ บรรจุในกล่องโฟมเข้าไมโครเวฟ สไตรีนจะไหลออกมาในปริมาณมาก และ5.ถ้าอาหารสัมผัสพื้นที่ผิวกล่องโฟมมากๆ รวมถึงร้านไหนที่ตัดถุงพลาสติกใสรองอาหาร จะได้รับสารก่อมะเร็ง ถึง 2 เด้ง
ทั้งสไตรีนและไดออกซินจากถุงพลาสติกพิษ ของสไตรีนจะทำลายไขกระดูก ทำลายตับ และไต ทำให้ผิวหนังแห้ง แตก ความจำเสื่อม สมาธิสั้น มีผลต่อประสาทส่วนกลางและส่วนปลายโดยมีผลทำให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวไม่ ดี เนื่องจากลดการประสานงานของกล้ามเนื้อ มีผลต่อการเต้นของหัวใจ และเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ โดยอาจก่อให้เกิดมะเร็งเส้นเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้
ขอบคุณข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์ฉุกเฉินไทย
ระยะเวลาการย่อยสลาย
ขอบคุณภาพจาก internet
รู้พิษภัยของการใช้โฟมบรรจุอาหาร และระยะเวลาการย่อยสลายของโฟมแล้ว การจัดประชุมครั้งต่อไป ลด ละ เลิก การใช้โฟม (No Foam) บรรจุอาหาร ค่ะ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ตรวจสอบการขอคืนภาษี
- ใหม่กว่า » ภาพบรรยากาศเชิญชวนบุคลากร ม.อ. ว...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้