ความเห็น: 0
ไข้เลือดออก ตอน 1
ตามที่ได้ติดตามอ่านข่าวสารในช่วง1-2 เดือนที่ผ่านมานั้น ข่าวการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างคือ ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข่าวสารด้านสาธารณะสุขนี้นับว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวเป็นอย่างมาก ดังนั้น ผมจึงค้นหาข้อมูล เพื่อแบ่งปันข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก ให้กับเพื่อนๆทุกคนครับ
รูปแสดงการป้องกันยุงลาย (http://www.thairath.co.th/content/edu/316419)
สาเหตุของโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว (http://www.siamhealth.net)
1. การป้องกันโรค ไข้เลือดออก
ทุกวันนี้ยังไม่มียาที่ใช้รักษาไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยป้องกันการแพร่ของยุงเพื่อไม่ให้ยุงมีการขยายพันธุ์
1.1 แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่
1.2 ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน
1.3 ตรวจ สอบแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ
1.4 หมั่น ตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธ์ของ ยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง
1.5 ตรวจรอบ ๆ บ้านว่าแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนบนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการ
1.6 ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง
1.7 ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน
1.8 หากใครมีรั้วไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ
2. การป้องกันส่วนบุคคล
2.1 ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนขาว และกางเกงขายาว เด็กนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง
2.2 การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี
2.3 การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่น ๆ
2.4 นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง
2.5 การควบคุมยุงโดยทางชีวะ
2.6 เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
2.7 ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs)
(http://health.kapook.com/view2522.html)
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ผมคิดว่าทุกคนคงจะมีแนวทางในการนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันตัวเอง หรือองค์กรของเราให้ปลอดภัยจากการระบาดของไข้เลือดออก.
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « งานซ่อม ปะผุ และทำสีใหม่รถบัส ตอ...
- ใหม่กว่า » ไข้เลือดออก ตอนจบ
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้