ความเห็น: 17
บันได 9 ขั้น แห่งการเข้าใจตนเอง(ตอนจบ)
เมื่วานนี้ขึ้นบันไดกัน 2 ขั้นแล้ว หลายท่าน เลยคาใจว่า เหตุไฉนทิ้งกันไปได้ ปล่อยให้อารมณ์ค้างอ่านไม่จบ....ก็คงเห็นแก่กินกระมัง.....วันนี้หลายจัดการกินไก่ซะให้เสร็จสรรพ แล้วมาลุยกันต่อ ว่ากันต่อเลยนะคะ
ความเดิมเมื่อวานนี้ได้กล่าวถึง ขั้นที่ 1 : การค้นหาทักษะ (Skill) ขั้นที่ 2 : เป็นการสำรวจจุดเด่นของตนเองไปบ้างแล้ว วันนี้ว่าต่อขั้นที่3-9คะ
ขั้นที่ 3 : สำรวจความสัมฤทธิ์ผลทั่วไป ในขั้นนี้เป็นช่วงสำคัญอีกขั้นหนึ่งของการรู้จักตนเอง ขอให้คุณนึกย้อนไปถึงเหตุการณ์ที่มีความหมายสำหรับคุณในอดีต ซึ่งอาจจัดว่าเป็นสำเร็จอย่างหนึ่งของชีวิต พยายามนึกให้ได้ว่าในชีวิตคุณมีความสำเร็จอะไรบ้าง อย่า !!!! ตอบว่า ไม่มีเลย เพราะไม่จริง ในแต่ละวันที่เรามีชีวิตอยู่นั้น เราจะต้องมีความสำเร็จเล็กๆน้อยๆเกิดขึ้นอยู่เสมอ อาจจะเป็นความรู้สึกประทับใจเล็กๆน้อยๆ ที่อาจจะไม่มีความหมายสำหรับผู้อื่น แต่มีความหมายสำหรับเรา เช่น ทำการฝีมือได้รางวัลชมเชย หรือต่อรูปยาก ๆ ได้สำเร็จก็ได้ ความสำเร็จในอดีตนี้ช่วยในการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพได้ไนอนาคต
ขั้นที่ 4 : สำรวจความชอบ / ไม่ชอบ
ในขั้นนี้เป็นการลองกลับไปคิดใหม่อีกครั้งถึงเหตุการณ์สมัยที่ผ่านมา ไม่ว่าจะตอนขณะอยู่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น ฯลฯ มีอะไรเกิดขึ้นในช่วงเหล่านั้นที่ทำให้คุณไม่ชอบใจบ้าง ? และขอให้จำลักษณะบุคลิกของบุคคลที่คุณไม่ชอบนี้ไว้ด้วยคุณจะได้รู้ว่าบุคคลประเภทใดที่คุณอยู่ด้วยแล้ว จะไม่มีความสุข
ขั้นที่ 5 : สำรวจขีดจำกัด
ไม่มีมนุษย์คนไหนที่สมบูรณ์พร้อม คุณก็เช่นเดียวกัน เราทุกคนยังเป็นมนุษย์ย่อมมีข้อบกพร่อง การรู้จักตัวเองของคุณไม่ควรจะหมายความถึงการรู้จักแต่ส่วนดีของตัวคุณเท่านั้น คุณยังต้องรู้จักจุดอ่อนหรือขีดจำกัดของคุณอีกด้วย จึงนับว่าเป็นการรู้จักตนเองอย่างแท้จริง จุดอ่อนที่เป็นอุปสรรคขัดขวางทำให้คุณไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรพยายามนึกทบทวนดูให้ดีและอย่าปิดบังตัวเอง คุณต้องพยายามทำความรู้จักกับทุกส่วนของบุคลิกคุณอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น คุณอาจเป็นคนมีความคิดอ่านดีในสมัยอยู่โรงเรียนมัธยม แต่คุณมักไม่ใคร่กล้าแสดงตัวหรือแสดงความคิดให้ปรากฏ ทำให้ผู้อื่นรับหน้าที่นี้แทนคุณไป และความคิดของเขาก็ไม่ได้ดีไปกว่าความคิดของคุณเลย ถ้าเป็นเช่นนี้แสดงว่าจุดอ่อนอยู่ที่การขาดความกล้าหรือไม่มีลักษณะเป็นผู้นำ เป็นต้น เมื่อสำเร็จเสร็จก็ขอให้จดจำขีดจำกัดของคุณไว้เพื่อประกอบการพิจาณาเลือกสมัครงานในตำแหน่งนั้น ๆ ต่อไป
ขั้นที่ 6 : สำรวจค่านิยม ค่านิยมคืออะไร และมีความสำคัญกับการหางานทำของเราอย่างไร ? คุณอาจจะยังค่อยเข้าใจถึงความสำคัญของค่านิยม ให้คุณลองนึกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าถ้าเผอิญคุณเป็นชาวพุทธที่ไม่นิยมการฆ่าสัตว์ แต่เผอิญคุณไปได้งานทำในโรงงานฆ่าสัตว์ และคุณจะต้องเป็นผู้ฆ่าสัตว์เหล่านั้น คุณคิดว่าคุณทำงานหน้าที่นั้นด้วยความสบายใจหรือไม่ และจะทำไปได้นานแค่ไหน ? แน่นอน คุณคงทำไปด้วยความไม่สบายใจและถ้าต้องทำต่อไป คุณก็คงจะอยู่ในงานนั้นไม่ได้นาน นั่นเป็นเพราะค่านิยมที่ตัวคุณยึดถือไปขัดกับค่านิยมของงานที่คุณทำ
ดังนั้น ค่านิยมจึงหมายถึง สิ่งที่เรายึดถือว่า ดีงาม สมควรปฏิบัติ เช่นค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ ความมั่นคง ความปลอดภัย ความเสียสละ เป็นต้น
ขั้นที่ 7 : สำรวจความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่น สิ่งหนึ่งที่คุณจะต้องเข้าใจก็คือ คุณจะต้องอยู่กับคนไปตลอดชีวิต การเข้าใจความสัมพันธ์ที่มีต่อกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการอยู่ร่วมกันและทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ที่ต้องมีกับบุคคลอื่น ๆ จะต่างกันในงานแต่ละชนิดมีงานบางประเภทที่ต้องทำร่วมกันกับผู้อื่นตลอดเวลา และบางประเภทก็แทบไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่นเลย ถ้าคุณสำรวจความสัมพันธ์แล้วพบว่า คุณชอบการสังสรรค์ พึงพอใจในการได้อยู่ในกลุ่มคน ก็แสดงว่าคุณคงมีความสุข ถ้าคุณได้งานที่เปิดโอกาสให้มีการสังสรรค์และอยู่กับผู้อื่น แต่ถ้าคุณชอบอยู่ของคุณตามลำพังไม่ต้องการยุ่งกับผู้อื่นมากนักก็ไม่ควรไปสมัครงานที่ต้องการมนุษย์สัมพันธ์มากๆ อาจเลี่ยงไปทำงานประเภทที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขหรือวัตถุแทน เป็นต้น
บุคลิกภาพของคุณและของงานแต่ละชนิดจะต้องถูกนำมาพิจารณาประกอบกันและหาตัวร่วมที่เหมาะสม เพราะคุณจะไม่มีความสุขเลยถ้าคุณทำงานที่มีลักษณะไม่ตรงกับบุคลิกภาพของคุณ
ขั้นที่ 8: สำรวจสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
คุณเชื่อหรือไม่ว่า... สิ่งแวดล้อมในการทำงานหรือบรรยากาศการทำงานมีผลอย่างยิ่งต่อสภาพจิตใจของคน ? ลองนึกง่าย ๆ ถ้าคุณไปนั่งทำงานในห้องแคบ ๆ ไม่เจอผู้คนเลยทั้งวันคุณจะทนทำไปได้สัก กี่วัน ? การทำงานนั้น มิใช่เป็นเพียงกระบวนการที่สักแต่จะให้ได้งานเท่านั้น แต่สิ่งแวดล้อมที่ประกอบการทำงานนั้นเป็นของสำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวงานเลย ซึ่งมิได้หมายความว่าให้คุณเลือกทำงานแต่ห้องแอร์ปูพรมจรดฝา แต่สิ่งที่กำลังอยากให้คุณพิจารณาคือ ความสามารถอย่างที่คุณมี จุดเด่น ทักษะ ความต้องการและค่านิยมของคุณนั้น ควรจะเหมาะกับงานชนิดไหนและอยู่กับสิ่งแวดล้อมคร่าว ๆ อย่างไร แต่คุณจะต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับความต้องการของคุณให้เข้ากับสิ่งที่คุณได้ตามสมควร
ขั้นที่ 9 : ความต้องการเกี่ยวกับเงินเดือน คุณคงต้องพิจารณาอย่างคร่าว ๆ ถึงความต้องการว่า คุณมีความต้องการอย่างไรในเรื่องนี้ การเรียกร้องเงินเดือนเท่าไดนั้น คุณควรจะต้องไปทำการค้นคว้าว่าโดยทั่ว ๆไปบุคคลที่จบการศึกษาระดับเดียวกับคุณ หรือผู้ที่ทางบริษัทรับเข้ามาในตำแหน่งที่คล้ายกับคุณสมัครนั้น ได้รับเงินเดือนประมาณใด ส่วนใหญ่ถ้าเป็นงานราชการ เงินเดือนที่คุณจะได้ต้องเป็นไปตามวุฒิที่ทางการกำหนด ไม่มีการต่อรอง แต่ถ้าเป็นบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจอาจมีอัตราการจ่ายเงินเดือนที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความมั่นคง และระบบการบริหารของบริษัท เช่น ถ้าเป็นบริษัทเล็ก ๆ ทำกันเองภายในครอบครัวก็อาจตั้งเงินเดือนให้คุณเองตามใจปรารถนาของเขา แต่บริษัทส่วนใหญ่มักถือเอาวุฒิการศึกษาเป็นเกณฑ์ในการจ่ายเงินเดือน
ในกรณีที่คุณไม่มีการศึกษาสูงนัก แต่มีประสบการณ์การทำงานมาก คุณอาจได้รับการพิจารณาเข้าทำงานและได้รับเงินเดือนสูงพอ ๆ หรืออาจจะดีกว่าผู้ที่จบการศึกษาสูงกว่าแต่ขาดประสบการณ์เท่าคุณก็ได้ ดังนั้น ถ้าคุณเคยมีประสบการณ์ในการทำงานที่คล้ายคลึงกับที่เขาต้องการย่อมจะมีภาษีกว่าผู้สำเร็จใหม่ ๆ ที่รับเข้ามาก็ต้องมาเสียเวลาและค่าใช้จ่ายฝึกใหม่นอกจากนี้ถ้าคุณมีประสบการณ์ทำงานคุณมักจะต่อรองเรื่องเงินเดือนกับผู้จ้างได้มากกว่าผู้ขาดประสบการณ์ แต่ถ้าคุณเพิ่งสำเร็จการศึกษาควรรับเงินเดือนตามวุฒิหรือตามโครงสร้างเงินเดือนของบริษัท การเรียกร้องเงินเดือนสูงๆสำหรับคนที่จบใหม่ๆถือว่าไม่เหมาะสมและอาจพลาดหวังงานได้ (ถ้าคุณไม่เจ๋งจริง)
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะมีหรือไม่มีประสบการณ์ ความต้องการของคุณก็ยังเป็นตัวกำหนดการหางานและเงินเดือนที่คุณประสงค์นั่นเอง คิดนิดนึง เพิ่งจบใหม่ๆประสบการณ์ไม่มี จบจากที่ไหนไม่มีใครรู้จัก เรียกเงินเดือนสูงเป็นคุณจะให้เงินเดือนสูงหรือ ???? คิดง่าย ลองเปรียบเราเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ในตลาด ยังไม่มีใครรู้จักแล้วตั้งราคาไว้สูง กับผลิตภัณฑ์ใหม่ราคาถูกและมีคุณภาพ ลองคิดดูซิว่า คนซื้อจะเลือกอะไร
บันได9ขั้นเพื่อการรู้จักตัวเองก็จบด้วยประการะฉะนี้....หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่จะนำไปใช้ในการแนะแนวอาชีพหรือการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา โดยเฉพาะ ปี 4 แต่สำหรับท่านที่ทำงานแล้วคิดจะเปลี่ยบนงานก็น่าจะพอใช้ได้เพราะใช้หลักการเดียวกันคะ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « บันได 9 ขั้น แห่งการเข้าใจตนเอง
- ใหม่กว่า » ครองตน ครองคน ครองงาน
ความเห็น
ขอบคุณพี่อัมพรคะที่ติดตามเช่นเคย...เปลี่ยนงานใหม่คนไม่ทันแล้วคะ...แต่ที่จะเป็นไปได้คือเปลี่ยนเจ้านาย...5555(ล้อเล่นนะ)
ขอบคุณคนธรรมดามีเข้ามาฝากรอยยิ้ม คะ
![]() |
อยากเขียนแต่ไม่อยากสมัครมีเรื่องที่ได้อ่านแล้วรู้สึกว่าน่าจะมีประโยชน์กับใครหลายๆคน อยากรู้แล้วใช่ไหมค่ะ !!!!! ไปอ่านกันแลย
มีคนบอกว่า "ชีวิตคืการแข่งขันขัน" และมีอีกคนบอกว่าการมองโลกแบบนี้ดูโหดร้าย เครียด และไร้ความรื่นรมย์กับชีวิตไปหน่อยแต่จริงหรือที่ชีวิตเราไม่ต้องแข่งขันกับชีวิตอื่น ๆ อีกมากมายก็ได้ บนโลกที่มีแผ่นดินและพื้นที่ยืนแสนจะจำกัดจนทรัพยากรต่าง ๆ ไปจนถึงโอกาสมีอย่างจำกัดไปด้วย นอร์แมน ทริปเล็ก นักจิตวิทยาได้ทำการทดลองสำคัญที่สุดที่บุกเบิกสาขาจิตวิทยาสังคมขึ้นในปี 1898 เขาให้เด็ก 40 คนมาหมุนอุปกรณ์คล้ายรอกตกปลาเพื่อจับเวลาที่ใช้ในการหมุนเก็บสายเบ็ดเขาพบว่า เด็กจะดึงสายเบ็ดเร็วขึ้นถ้ามีเด็กอีกคนมาดึงสายเบ็ดอยู่ใกล้ๆ การทดลองชี้ให้เห็นว่า ถ้ามีคนทำงานอยู่ข้าง ๆ คนเราจะทำงานได้ปริมาณมากกว่านั่งทำคนเดียว ( ถ้าไม่มานั่งคุยกันเสียก่อน) แนวคิดถูกนำมาประยุกต์ใช้กับจิตวิทยาการกีฬา อย่างที่รู้กันดีว่า เมื่อมีคนมาวิ่งประกบนักวิ่งจะทำเวลาได้ดีกว่าวิ่งเพียงลำพัง บางทีเราอาจกำลังแข่งขันกับคนอื่นๆรอบข้างโดยสัญชาตญาณและการแข่งขันที่ว่าอาจแฝงกลมกลืนมาในวิถีชีวิตของเราตั้งแต่การสอบไล่จนถึงการแต่งตัวแล้วก็ได้ การแข่งขันเพื่อจับคู่ผสมพพันธ์ของสัตว์โลกมีหลายรูปแบบตั้งแต่การใช้กำลังเข้าขวิดกันจนการเกี้ยวพาราสีอย่างอ่อนหวานและการเกี้ยวพาราสีเองก็มีหลากสไตส์ขณะที่นกหลายชนิดแข่งขันกันด้วยความงามทางรูปสมบัติ จากสีขนบนตัวและพวงหางในป่าทางตอนเหนือของออสเตรเลีย นกบาวเวอร์ ตัวผู้จะสร้างซุ้มเล็กๆจากกิ่งไม้แล้วประดับประดาอย่างสวยงามด้วยดอกไม้ ก้อนหิน จนถึงเศษกระดาษและพลาสติกสีสันฉูดฉาดเพื่อดึงดูดความสนใจของสาวๆโดยที่โทนสีและลักษณะการตกแตงจะเปลี่ยนไปในแต่ละปีเหมือนแฟชั่นหรือไม่การแต่งตัวในตอนเช้าน่าจะมีบางอย่างที่มากกว่าเพียวการให้ความอบอุ่นแก่รร่างกาย สัตว์ที่รวมกันเป็นฝูงอย่างปลาจนถึงอยู่อย่างเป็นสังคมอย่างสุนัขจิ้งจอก มีจุดประสงค์ของการรวมกลุ่มไม่ต่างกันนักคือเพื่อเพิ่มโอกาสในการเลือกคู่ การหาอาหาร และการปกป้องรักษาความปลอดภัยให้กันและกัน พูดง่าย ๆ ว่ากำลังแข่งขันกับสายพันธุ์อื่น ๆ เพื่อความอยู่รอด ดังนั้นทันทีที่เราอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งภายในสังคมก็เท่ากับเรากำลังแข่งขันกับกลุ่มอื่น ๆ แล้ว แค่ทุกครั้งที่เราสูดลมหายใจ ระบบภูมิคุ้มกันของเราก็กำลังแข่งขันกับเชื้อโรคมหาศาลในอากาศแล้วเช่นกัน โลกที่ปราศจากการแข่งขันคงดูราบเรียบและเป็นโลกที่ปราศจากซึ่งความแตกต่างทั้งมวลแต่ความต้องการที่ไม่แตกต่างกันไปด้วยนั้นย่อมนำทุกสิ่งในโลกเข้าสู่การแข่งขันสักวัน การจินตนาการถึงโลกที่ปราศจากการแข่งขันคงเป็นเรื่องยากเย็น พอๆกับการจินตนาการถึง "ชีวิตที่ไร้การแข่งขัน"ว่าเป้าหมายและความรื่นรมย์ของชีวิตแบบนั้นอยู่ตรงไหน
ขอขอบคุณหนังสือ a day ที่มอบเรื่องนี้ให้ได้อ่านและย้อนกลับไปคิดถึงตัวเองว่ากำลังแข่งอยู่กับอะไร แล้วคุณหล่ะกำลังแข่งขันอยู่กับอะไร?
อ่านแล้ว ทำให้ใจสับสนเลยพี่...
คงต้องกลับไปอ่านขั้นที่ 1 ใหม่ครับ แล้วมาเชื่อมโยงปรับใช้กับตัวเอง (เผื่อจะได้โตสักที่ คิก ๆๆ ...)
สวัสดีค่ะนู๋ดวง
แวะทักทายค่ะ ว่าอ่านจบแล้วทั้ง 9 ขั้น แต่ของพี่มันเป็นแบบก้าวกระโดดค่ะ กลับไปกลับมา แต่ก็ยังไม่ครบทั้ง 9 ขั้นนะคะ แบบนี้ถือว่าไม่ผิดกติกาใช่ไหมค่ะ
อ้อ ขอชมเพลงประจำ blog เพราะจริง ๆ ค่ะ ชอบมาก อยากบอกว่าเก่งจัง พี่ยังทำแบบนี้ไม่ได้เลย วันหลังค่อยกระซิบถามนะคะ ว่าทำยังไง
ขอบคุณพี่รัตติยามากคะที่ส่งข่างเรืองเสื้อ....อย่างนี้เรียกว่า หนูทำได้หรือเปล่าคะ หรือจะเรียกว่า หมู ทำได้ดีล่ะ 5555 ยังไงต้องขอบคุณพี่ๆทีมงานทุกท่านคะที่ช่วยเชียร์ ช่วยลุ้น จนคว้าเสื้อมาได้...แต่จะใส่ได้หรือเปล่าต้องรอดูนะคะ
10 มกราคม 2551 09:09
#10337