ความเห็น: 17
มิติใหม่การเรียนการสอนและกิจการนักศึกษา
วันที่ 24 – 25 ก.ค. 2552 ที่ผ่านมาได้เป็นกระบวนกร (วิทยากร KM ) ให้กับโครงการ การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสหกิจศึกษาสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน ที่จ.สุราษฎร์ธานี ผู้เข้าอบรมเป็นอาจารย์สถาบันอุดมศึกษา ขอเล่าสหกิจศึกษาก่อนนะคะ
สหกิจศึกษาเป็นการเรียนการสอนซึ่งนำวิธีการผสมผสานการเรียนในห้องเรียนร่วมกับ การปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ประวัติความเป็นมา เริ่มต้นพัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี พ.ศ. 2446-2452 เรียกว่า ระบบการศึกษาแบบสหกิจศึกษา (Cooperative Education) ในสหรัฐอเมริกา พบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา ระบบนี้ก้าวหน้ามากเนื่องจากได้รับ การสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาล และความร่วมมือจากสถานประกอบการ ปัจจุบันนี้สถาบันการศึกษาทั่วโลกจำนวนร้อยละ 33 นำระบบสหกิจศึกษามาใช้ และพัฒนาไปจนถึงระดับที่มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานในระดับนานาชาติ
ความสำคัญของสหกิจศึกษา เป็นการเรียนการสอนที่เพิ่มเติมประสบการณ์ทางด้านอาชีพ และการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษา ในรูปแบบที่มีคุณค่าเหนือกว่าการฝึกงาน และเปิดโอกาสให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพของบัณทิต ทำให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และเข้าถึงชุมชนโดยการส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยและสถานประกอบการ (ชุมชน) โดยผ่านนักศึกษาปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ......
ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาต้องให้ความสำคัญการศึกษาที่จะต้องพัฒนา ศักยภาพนักศึกษาควบคู่ไปกับความเป็นเลิศทางวิชาการและความชำนาญเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้สอดคล้องตรงตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต สอดคล้องกับ “การพัฒนานักศึกษาตามกรอบ TQA ” (Thailand Qualification Framework for Higher Education) ซึ่งกำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐานโดยท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ท่านจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2552 และได้นำมาบรรยายโดย ดร.จิรวัฒน์ วีรังกร ประธานอนุคณะกรรมการการพัฒนานักศึกษาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคกลาง ว่าการพัฒนานักศึกษาในโลกอนาคตต้องมีการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนและกิจการนักศึกษาไปจากเดิมเพราะ การเปลี่ยนแปลง (Change) การเมือง เศรษฐกิจ สังคม จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ตลาดแรงแรงงานจะหางานยากขึ้น ความรู้ปฏิบัติจะสำคัญมากกว่าความรู้ทฤษฎี นั่นหมายความว่า.....สหกิจศึกษา.....น่าจะเป็นเครื่องมือที่ดีในการขับเคลื่อนการเรียนการสอนแบบใหม่ในวงการอุดมศึกษา เพราะนักศึกษาได้ปฏิบัติงานเสมือนหนึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราวของสถานประกอบการ รับผิดชอบที่แน่นอน โดยงานที่ได้รับมอบหมายเป็นงานที่มีคุณภาพ ทำงานเต็มเวลา (Full Time) และบางสถานประกอบการมีค่าตอบแทนให้นักศึกษา
*** ขอเชิญชวนปรับปรุงการเรียนการสอนและกิจการนักศึกษาแนวใหม่ ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานนะคะ***
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « มิติใหม่การพัฒนานักศึกษาปี2552
- ใหม่กว่า » KM : บูรณาการวิชาการและกิจการนัก...
ความเห็น
- นั่นแหละน้องสายฝนได้ประสบการณ์เต็ม ๆ เลย
- เท่าที่พี่ทราบตอนนี้ม.หาดใหญ่ ได้ทำสหกิจศึกษาแล้วด้วย คงต่อยอดมาจากอำนวยวิทย์พาณิชยการนี่เอง
สวัสดีค่ะพี่
ถ้ามหาวิทยาลัยต่างๆ นำระบบสหกิจศึกษามาใช้ ต่อไปนักศึกษาก็ต้องเก่งกันทุกคน การแข่งขันด้านตลาดแรงงานก็สูงขึ้น แล้วไม่ทำให้นักศึกษาลำบากใจหรือค่ะพี่ ว่าเค้าต้องมีความสามารถเหนือกว่าคนอื่นถึงจะเข้าทำงานได้ เพราะว่าทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
![]() |
พี่อัมพร
ถ้าเป็นที่ฝรั่งเศสการศึกษาเขาจะแบ่ง ให้เราเลือกถ้าเรียก็สหกิจฯ ตอนปีสุดท้ายน่ะค่ะหรืออาจเพิ่มมาให้อีกปี(จากปกติเรียน ป ตรี สามปี เป็นสหกิจ สี่ปี แต่ไม่ได้บังคับนะคะ)แต่จะมีเพียงบางคณะน่ะค่ะ
จำได้ว่า เคยอ่านของ สาขาการพัฒนา ที่ บอร์โด เขาจะให้ไปทำงานที่ยูเนสโกด้วย(เพราะองค์กรทำข้อตกลงร่วมกัน) การฝึกงานจากที่เคยผ่านมาทั่วไป ทั้งของตนเองและพี่ที่รู้จัก เขาจะให้โครงการมาให้เราไปรับผิดชอบ ทุกคนต้องมีตำแหน่งแบบทำงานจริง ส่วนรายได้นั้นกฎของที่ฝรั่งเศสให้แค่ ร้อยละสามสิบของเงินเดือนผู้ปฏิบัติงานจริงค่ะ แต่จากที่อ่านรายละเอียดของที่นั่นเขาให้ไปลงพื้นที่จริงประเทศอื่นกันเลยน่ะค่ะ จากนั้นเขาจะคัดนักเรียนเหล่านั้น เข้าทำงานจริงอีกทีด้วยน่ะค่ะ
แต่ข้อเสียของสหกิจในหลักสูตร สามปี คือ เมื่อจะมาเรียน ปโท นั้นต้องไปเรียนปีสุดท้ายของ ป ตรี (ภาคปกติ)มาก่อนหนึ่งปี
เป็นหลักสูตรที่เปิดรับจำนวนจำกัดเพราะข้อจำกัดหลายฝ่ายน่ะค่ะ
อยากให้เมืองไทยมีบ้างเหมือนกันค่ะเพราะจะได้มีหลากหลายให้ผู้เรียนได้เลือก
![]() |
- ใช่แล้วค่ะ นักศึกษาที่มีความสามารถเหนือกว่าคนอื่น ถึงจะมีงานทำ เช่นต้องเก่งด้านภาษา ไอ-ที หรือมีประสบการณ์ทำงานเหมือนจริง
- เพราะต่อไปนี้หลักสูตรการเรียนการสอนคงต้องเน้นภาคปฏิบัติมากกว่าการเรียนแต่ทฤษฎีนะ
![]() |
- ขอบคุณนะน้องตาล ที่นำการเรียนการสอนของฝรั่งเศสมาเล่าสู่กันฟัง เป็นข้อคิดที่ดีสำหรับนำมาเป็นแนวทางและเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงการเรียนการสอนได้
ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้น คงไม่จำกัดเวลาเรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาเท่านั้น
นี่อาจเป็นแนวคิดใหม่ของอุดมศึกษาไทย
เรียนรู้เพื่อนำไปใช้จริง ไปใช้ให้ได้ผล และค่าตอบแทนก็ได้ตามผลงาน มากกว่าตามวุฒิการศึกษา
- ใช่แล้วค่ะ
เห็นด้วยอย่างมาก การเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่ได้จำกัดเรียนในสถาบันการศึกษา
- สหกิจศึกษาเป็นแนวคิดใหม่ของการอุดมศึกษาไทยที่เน้นการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้จริงค่ะ
- ซึ่งขณะนี้หลาย ๆ มหาวิทยาลัยนำไปประยุกต์ใช้จริง จุฬา เกษตรศาสตร์ ฯลฯ
- เท่าที่ทราบในม.อ.หาดใหญ่ มีคณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ
![]() |
ขอเพิ่มเติมนะคะ คือ เรื่องความสามารถนั้น ถ้าจากที่เคยผ่านมา ที่นี่จะต้องเรียนภาษาอื่นคือ อย่างน้อยคุณต้องรู้จักภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสและภาษาที่สามน่ะค่ะ หรือสี่ (ด้านรัฐศาสตร์)น่ะค่ะ
ส่วนไอที จากปีที่แล้วทางสถาบัน(เนื่องจากเรียนที่ IEP(เป็นโรงเรียนสอนด้านการเมืองโดยเฉพาะน่ะค่ะ) )จะมีหลักสูตรให้อบรม ซึ่งรวมทั้งการเขียนโปรแกรมพื้นฐานด้วย(เป็นหลักสูตตลอดปีการศึกษาค่ะ(เรียนกันทั้งปีเลย)) อันนี้ไม่ได้บังคับค่ะ
ส่วนปีสุดท้ายของ ป ตรี นั้น จะมีโครงการแลกเปลี่ยนถ้าใครที่ไปประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษต้องสอบโทเฟิล(ไทยคงทำอยู่แล้ว) ส่วนใครที่ไป เช่น ญี่ปุ่น อิตาลี (ก็ต้องสอบภาษานั้นๆ ด้วยน่ะค่ะ)
![]() |
พี่อัมพร
ข้อแนะนำที่ดีกว่านั้นและดีที่สุด คือ อย่ามาเลยดีกว่าค่ะ เด็กที่อยู่ฝรั่งเศสจะเป็นเศษฝรั่งแล้ว..ประทับใจอย่างสุดซึ้ง...มันเป็นอะไรที่ประทับใจมากเลย
พระเจ้าเจี๊ยกช่วยลูกด้วย!
27 กรกฎาคม 2552 14:47
#46652
สวัสดีค่ะพี่อัมพร
สายฝนอ่านของพี่แล้วดีใจกับน้องๆ นักศึกษาค่ะ พอสายฝนได้อ่านแล้วนึกย้อนกลับไปตอนที่สายฝนยังเป็นนักศึกษาอยู่ที่โรงเรียนหาดใหญ่อำนวยวิทย์พาณิชยการแล้ว จะเล่าให้ฟังว่าตอนที่สายฝนเรียนอยู่ชั้น "ปวช." สายฝนได้สมัครเป็นสมาชิกของ "โรตารี่" โรตารี่นี้ จะมีผู้บริหารของสถานประกอบการต่างๆ เป็นสมาชิกอยู่ สายฝนก็เข้าสมัครเป็นสมาชิก สายฝนในฐานะสมาชิกของ "โรตารี่" พอช่วงปิดเทอม ทางโรตารี่ เค้าก็หางานให้สายฝนทำ รู้มั้ยสายฝนทำอะไร เค้าให้สายฝนไปเปิดตลาดขายนม ให้เป็นพนักงานขายนมสด สายฝนก็หาตลาด และขายได้มากด้วยค่ะ สายฝนก็ได้ประสบการณ์จากการเป็นพนักงานขายนมสดมากทีเดียวค่ะ