ความเห็น: 3
ม.สงขลานครินทร์ พัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดกิจกรรมฝึกอบรมติดตามและประเมินชี้แนะครูระดับประถมศึกษา ในจังหวัดสงขลา เพื่อสร้างการเรียนรู้ ภายใต้โครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ณ ห้องประชุมสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2563
การฝึกอบรมดังกล่าว ดำเนินงานระยะเวลา 1 ปี ระหว่างเดือนกันยายน 2562- สิงหาคม 2563 เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบในโรงเรียน โรงเรียนเป้าหมายเป็นประถมศึกษาในจังหวัดสงขลา และสตูล จำนวน 20 โรงเรียน
โดยมีผู้อำนวยการและครูผู้สอนเข้าร่วมอบรม จำนวน 90 คน รูปแบบการฝึกอบรม เป็นการบรรยายและการนำเสนอผลการดำเนินงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และการประชุมระดมความคิดเห็น ผู้เข้าร่วมการอบรมจะได้นำความรู้และประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำไปใช้ในการพัฒนายกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยความเข้าใจผู้เรียน มีการบรรยายเรื่อง Growth mindset โดย ผศ.นพ.เทอดพงศ์ ทองศรีราช กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรม คณะแพทยศาสตร์ ร่วมกับรองศาสตราจารย์ไพโรจน์ คีรีรัตน์ และคณะ รวมทั้งมีการระดมความคิดเห็น การออกแบบการสอนในชั้นเรียน การทดลอง สาธิตการสอน และสรุปผลห้องเรียนโครงงานฐานวิจัย สำหรับครูชั้น ป. 4 ขึ้นไป จำนวน 90 คน ในจังหวัดสงขลา
รวมทั้งการฝึกอบรม การสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับครูระดับชั้นอนุบาล-ชั้นประถมศึกษาที่ 3 จำนวน 90 คน ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องความสำคัญของการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ วัฏจักรการสืบเสาะ วิทยากร ประกอบด้วย ผศ.อัมพร ศรประสิทธิ์ รศ.ดร.วิลาวัลย์ มหาบุษราคัม และผศ.พลพิมล คีรีรัตน์ โดยการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนด้วยการนำโครงงานฐานวิจัย และกระบวนการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยมาใช้ในห้องเรียน ตลอดจนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของโรงเรียน สามารถยกระดับพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีบทบาทสำคัญการพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ จากประสบการณ์องค์ความรู้จากการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา พบว่า การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนด้วยการนำโครงงานฐานวิจัย และกระบวนการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยมาใช้ในห้องเรียน ตลอดจนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของโรงเรียน สามารถยกระดับพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
การเรียนการสอนดังกล่าวเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิด ทักษะชีวิต และทักษะศตวรรษที่ 21 โดยการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนในทั้งสามด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย และด้านจิตพิสัย โดยกระบวนการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนจะส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติเชิงบวกและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง จึงนำการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้มาใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « 7 ค่ายอาสาพัฒนา พลังลูกสงขลานคริ...
- ใหม่กว่า » นศ.สาขาวิชาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์แล...
29 March 2021 22:22
#117706
สล็อตทดลองเล่น