ความเห็น: 5
ก็เพิ่งจะรู้ว่า TEM ทำอะไรได้มากกว่าการถ่ายรูป
"ก็เพิ่งจะรู้ แต่ก็ยังไม่สายที่ได้รู้"
สำหรับ TEM หรือ Transmission electron microscope นั้น นอกจากจะถ่ายภาพตัวอย่างที่บางมากระดับ นาโนเมตร ได้แล้ว ยังสามารถถ่ายรูปด้วยเทคนิค diffraction, bright field และ dark field image ด้วย ทั้งนี้เพราะได้รับการอบรมจากพี่ๆ ที่ MTEC เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ที่ตั้งใจมาสอนให้ได้รู้เทคนิคหลายอย่าง ซึ่งไม่เคยได้รู้มาก่อน ก็มากระจ่างตอนนี้ นี้เอง ซึ่งการถ่ายรูปด้วยเทคนิคนี้ สามารถนำไปใช้ศึกษาตัวอย่างที่เป็นวัสดุ โดยการทำ diffraction จะทำให้สามารถมองเห็นระนาบต่างๆ และรู้ว่าโครงสร้างของวัสดุนั้นเป็น Amorphous หรือเป็น Crystal หากตัวอย่างเป็น Single Crystal จุดสว่างที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะสมมาตรกัน ถ้าตัวอย่างเป็น Amorphous จะเกิดจุดสว่างขนาดใหญ่ตรงกลางเพียงจุดเดียว ถ้าหากตัวอย่างเป็น Polycrystalline จะเกิดจุดสว่างหลายๆ จุดและเกิดเป็นวงแหวน ดังภาพข้างล่างนี้ค่ะ

ซึ่งลักษณะที่ปรากฎนี้ จำเป็นจะต้องทำการศึกษาให้ลึกซึ้งเพื่อจะได้รู้ว่ามันมีประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง น่าสนใจมากๆ เลยน่ะค่ะ
คราวต่อไปมารู้จักกับ bright field และ dark field image กันน่ะค่ะ
ภาพจาก www.scielo.br/img/fbpe/jbchs/v13...13f3.jpg
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ทำงานอย่างไร? ให้มีความสุข
- ใหม่กว่า » ความรู้เพิ่มเติม TEM
05 มีนาคม 2553 18:50
#54982