ความเห็น: 8
กระเบื้องทำงานเข้าซะแล้ว
2 อาทิตย์ที่ผ่านมางานวิเคราะห์โครงสร้้างฯ มีงานเข้า...เต็มๆ แถมจัดชุดใหญ่ด้วย เนื่องจากขาดพี่ Zenki ไปหนึ่งคน แต่ก็ยังไม่สู้ งานเข้าจากกระเบื้องมุงหลังคา เนื่องจากลูกค้าไม่เคยส่งตัวอย่างมาก่อน และที่สำคัญไม่ได้จองคิวล่วงหน้า (มาวันศุกร์ตอนบ่ายแล้ว) แต่ต้องการจะดูตัวอย่างด้วย แถบต้องเอาผลกลับไปภายในอาทิตย์นี้
ลูกหว้าก็เลยเสนอว่าให้ ส่งตัวอย่างเป็นแบบกรณีเร่งด่วน คือ ทำนอกเวลา ราคาก็คูณสองไป เค้าก็ OK ปัญหาอย่างแรกตัวอย่างใหญ่มาก คือ เอากระเบื้องมาทั้งแผ่นแบบว่าเอามามุงหลังคาได้เลย พี่สุกิจกับลูกหว้าก็เลยจัดการหาเครื่องไม้เครื่องมือให้ตัดกันเองเลย (ลูกค้าส่งทดสอบ XRD ด้วย) จัดการกับตัวอย่างเสร็จเรียบร้อย เขียนใบขอใช้บริการทดสอบตัวอย่างเสร็จ ดูเหมือนทุกอย่างราบรื่น พรุ่งนี้วันเสาร์ตอนเช้าอยู่เวร บ่ายค่อยมาทดสอบ
ปรากฎว่าพอเข้าเครื่อง Sputter Coater ปกติ Vacuum จะลงเร็วมาก แต่นี่แทบจะไม่ลงเลย แสดงว่ากระเบื้องมีน้ำเยอะมาก เลยสอบถามกับลูกค้าปรากฎว่ามีน้ำเยอะพอสมควร ก็เลยเอาไปอบที่ 60 องศา (พร่องมากที่ไม่ได้ถามลูกค้าก่อนว่าตัวอย่างชื้นรึป่าว) ปัญหาตามมา ไม่มีเตาอบว่าง เดินสำรวจหาเตาอบอยู่หลายรอบ ส่วนใหญ่อบที่ 100 องศา เพราะถ้าอุณหภูมสูงไปวัสดุตัวเติมจะเสียรูปได้ สอบถามพี่ฮัมดัน จึงรู้ว่ามีเครื่อง Incubator สามารถอบตัวอย่างได้ จึงอบไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เข้าเครื่อง Sputter Coater ใหม่ก็ยังไม่ลง งานเข้าอีกรอบ ตัดสินใจใช้เครื่อง SEM Quanta โหมด Low vacuum ปรากฎลูกค้าม่ายชอบ เพราะไม่ค่อยชัด ตัวอย่างเกิด Charging สุดๆ ปาเข้าไปจะห้าโมงเย็นแล้ว ลูกค้าตัดสินใจอบใหม่ Overnight ไปเลย พรุ่งนี้วันอาทิตย์ค่อยมาพยายามกันใหม่ เล่นเอาน่องตึงกันเลย เพราะเดินขึ้นเดินลงชั้น G กับ ชั้น 1 อยู่หลายรอบ (ถึงกับสวดมนต์ภาวนาพรุ่งนี้ตัวอย่างแห้งทีเถิด ได้โปรด)
เช้าวันอาทิตย์ตื่นมาด้วยอาการงัวเงีย เอ้านะพยายามอีกรอบ เอาตัวอย่างออกมา coat ทอง vacuum ลดลงมาหน่อย ใจชื้นขึ้นมา รอจนกระทั่ง vacuum ได้ปาเข้าไป 1 ชั่วโมง สำหรับการ coat ทอง มี 3 ตัวอย่าง หนึ่งวันอาทิตย์เต็มๆ สำหรับการทดสอบ แต่สุดท้ายลูกค้าก็ได้ผลไปวิเคราะห์ต่อ ดีใจจังได้กลับบ้านซะที
บทเรียนในครั้งนี้
สาเหตุ
- ไม่ได้สอบถามลูกค้าว่าตัวอย่างมีน้ำอยู่แค่ไหน เพราะที่ผ่านมา ทดสอบงานวิจัยพวกกระเบื้องไม่เคยเจอตัวอย่างชื้น เลยสรุปเอาเองว่าคงไม่ชื้นละมั้ง
- ตัวอย่างถึงจะตัดมาแล้ว แต่ก็ยังใหญ่อยู่ แถมรูพรุนเยอะ ทำใ้ห้ความชื้นอยู่ในรูพรุนมาก vacuum เลยลงช้ากว่าปกติ
วิธีแ้ก้ไข
- คราวหน้าห้ามสรุปเอาเอง ต้องสอบถามลูกค้าให้ละเอียดกว่านี้ โดยเฉพาะตัวอย่างที่ไม่เคยทดสอบมาก่อน
- ตัดตัวอย่างใ้ห้เล็กลงอีก เพื่อลดจำนวนรูพรุน
ขอขอบคุณ บุคคลที่เกี่ยวข้องในงานนี้ด้วยค่ะ
พี่ฮัมดัน (ช่วยแนะนำเครื่อง Incubator)
พี่วาวา (ช่วยหาวิธีใช้เครื่อง Incubator และอาหารว่าง ข้าวเหนียวถั่วดำและน้ำมะพร้าว ตกลงกินเองหมด เพราะหมดพลังงานกับการเดิน)
little aun (ให้ใช้เครื่อง SEM Quanta ทั้งๆที่มีตัวอย่างต้องทดสอบอยู่) และ
พี่ผดา (ช่วยแนะนำเรื่องออกใบเสร็จ)
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « วิธี Clean aperture
- ใหม่กว่า » เครื่องทำแห้งที่ไม่ค่อยจะแห้งซัก...
ความเห็น
สู้ๆ นะคร้า นี่ดีนะที่มีคนช่วยเยอะ นี่ถ้าวันนั้นไม่มีใครมาเลย พี่คงยุ่งกว่านี้แยะ
ตัวอย่างเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดเยอะจริงๆ โดยเฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยส่งตัวอย่างมาก่อน TEM ก็มีปัญหาบ่อยไป แต่โชคดีลูกค้าไม่ค่อยส่งเร่งด่วน เพราะต่อให้เร่งแค่ไหน ก็ด่วนไม่ได้ 555
เมื่อวันเสาร์พี่ว่าจะเข้ามาดูแล้วล่ะ แต่ก็คิดว่า คงไม่มีปัญหาอะไรหรอก กระเบื้องก็ถ่ายกันบ่อยๆ
มาถามเมื่อเช้านี้ โอ้คิดผิดซะแล้ว ทำเอาน้องลำบากเลย น้องเสียสละมาทำวันหยุดแล้วยังเจอปัญหาโดยไม่ได้ช่วยอะไรเลย
จากการมาตรวจสอบชิ้นงาน พบว่า ชิ้นงานใหญ่มาก ทำให้มีปัญหากับการ vac แน่นอน กรณีนี้เราต้องตัดตัวอย่างให้เล็กลงอีก ด้านภาคตัดขวางยังตัดตย. ออกได้อีกเป็นเซ็นต์เลย ผิวหน้าก็ตัดให้เล็กๆ ลงอีก แล้วปัญหาเรื่องการ vac จะหายไปนะ
สู้ๆ นะ
ด้วยความที่เกรงใจเค้า (วันศุกร์เค้ายังไม่ได้กินข้าวเที่ยงเลย ตอนนั้นบ่าย 3 แล้ว) บอกเค้าแล้วว่าตัวอย่างใหญ่ไป แต่ยังไงก็คงได้แหละ
พอ vacuum ไม่ลง ก็ตัดฐานออกอีกนิดนึงด้วยคีม แต่ด้วยความที่กลัวว่าจะำทำตัวอย่างเค้าพัง แล้วไม่ได้บริเวณที่ต้องการ ก็เลยยอมเสียเวลา แต่คราวหน้ามาอีกไม่มีการเกรงใจ เพราะว่า 2 วัน นี้คุยกันจนสนิทแล้ว คราวหน้าขอเล็กๆ แห้งเลยน่ะค่ะ
27 กุมภาพันธ์ 2555 08:50
#75513
ควรทำแบบฟอร์ม สิ่งที่ต้องถามลูกค้านะครับ
จะได้ไม่พลาดอีก