อ่าน: 2207
ความเห็น: 0
ความเห็น: 0
เตรียมตัวอย่างทางชีวภาพ ด้วย Fixing agent
การเตรียมตัวอย่างทางชีวภาพสำหรับงาน TEM และ SEM
ในกรณีที่ต้องศึกษาตัวอย่างด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างทางชีวภาพนั้นมีความสำคัญมาก วัตถุประสงค์เพื่อให้ตัวอย่างมีรูปร่าง โครงสร้างและขนาดใกล้เคียงกับสภาพธรรมชาติมากที่สุด ดังนั้น เซลล์หรือเนื้อเยื่อๆ ที่ผ่านการเลือกบริเวณมาแล้ว จะต้องนำมาแช่ในน้ำยาดองเพื่อรักษาสภาพให้คงเดิม หรือใกล้เคียงกับที่เป็นอยู่เดิมให้มากที่สุด หรือเรียกว่า fixing agent ที่นิยมใช้กัน ได้แก่
พวก aldehyde เช่น glutaraldehyde และ paraformadehyde ซึ่งมักใช้ในการ fix ครั้งแรก (primary fixation หรือ prefixation)
ส่วน osmium tetroxide (OsO4) นิยมใช้ในการ fix ครั้งที่ 2 (secondary fixation หรือ postfixation)
สำหรับตัวอย่างที่ดูกับเครื่อง SEM นั้น ทำการfix ด้วย glutaraldehyde ก็พอแล้วค่ะ แต่ถ้าเป็นตัวอย่างที่ดูกับเครื่อง TEM ต้องเพิ่มการ fix ด้วย OsO4 อีกครั้งนึง
ที่นี้ก็มาดูกันว่าแต่ละตัวทำหน้าที่อย่างไรบ้าง
สำหรับ glutaraldehyde สามารถทำปฏิกริยาได้ีดีกับโปรตีน แต่จะไม่มีผลกับไขมัน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ OsO4 อย่างไรก็ตามหากไขมันไม่ถูก fix ไขมันจะสลายตัวได้ถึง 95% ในระหว่างการ dehydration
ข้อเสียของ glutaraldehyde คือ ต้องเตรียมใหม่ทุกครั้งที่ต้องการจะ fix ตัวอย่าง หากเตรียมไว้นานๆ จะเสื่อมคุณภาพและจะเกิดกรดจาก oxidation glutaraldehyde มีราคาแพง โดยเฉพาะที่ใช้กับงานด้านจุลทรรศน์ิอิเล็กตรอน (E.M. Grade) แต่ได้รับความนิยมสูง เพราะมีประสิทธิภาพในการ fix สูง
บล็อคหน้ามารู้จักกับ OsO4 กัน
สร้าง: 09 เมษายน 2556 16:35
แก้ไข: 09 เมษายน 2556 16:37
[ แจ้งไม่เหมาะสม ]
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « "เศรษฐกิจพอเพียง"
- ใหม่กว่า » เตรียมตัวอย่างทางชีวภาพ ด้วย Fix...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้