ความเห็น: 1
เตรียมตัวอย่างทางชีวภาพ ด้วย Fixing agent (ต่อ)
Osmium Tetroxide OsO4 จัดเป็น postfixative มีอัตราการแทรกซึมและเกิดปฏิกิริยาช้า โดยจะ fix เป็นลำดับจากผิวจนถึงส่วนกลางของเนื้อเยื่อ ส่วนใหญ่ OsO4 จะทำปฏิกิริยาได้ดีกับโครงสร้างที่ประกอบด้วยไขมัน และเหมาะสำหรับตัวอย่าง membrane
การเตรียมสารละลาย OsO4 จากผลึก OsO4 anhydrous ควรทำอย่างระมัดระวังเพราะไอของสารนี้เป็นพิษ และจะไปทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจตอนต้น รวมทั้งทำให้เยื่อบุตาบวมน้ำ ดังนั้นควรจะเตรียมในตู้ดูดควันที่สามารดูดควันพิษออก
สำหรับการเตรียมตัวอย่าง TEM นั้น OsO4 มีความจำเป็นมาก ซึ่ง OsO4 จะสามารถรวมกับองค์ประกอบต่างๆ ของเซลล์และเนื้อเยื่อได้ดี สามารถทนต่อลำอิเล็กตรอนได้ และยังเป็นโลหะหนักทำให้ตัวอย่างมีความสามารถในการนำไฟฟ้าได้ดีกว่าเดิม ช่วยเพิ่ม contrast ใ้ห้แก่ตัวอย่าง เมื่อทำการศึกษาด้วย TEM ภาพที่ได้จะมีความคมชัดมากยิ่งขึ้น
ที่มา: การใช้กล้องจุลทรรศน์ิอิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและการเตรียมตัวอย่างด้วยเทคนิคพิเศษสำหรับตัวอย่างทางชีวภาพ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « เตรียมตัวอย่างทางชีวภาพ ด้วย Fix...
- ใหม่กว่า » มารู้จัก Grid กันเถอะ
17 เมษายน 2556 20:14
#86912
รู้ใช้ รู้ป้องกัน แบบนี้แหละเขาเรียกว่าผู้รู้