ความเห็น: 0
แม่พิมพ์สำหรับการเตรียมตัวอย่างเครื่อง TEM
เมื่อเตรียมตัวอย่างตามขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างทางชีวภาพ จำเป็นที่จะต้องนำตัวอย่างใส่เข้าไปในเรซิน ซึ่งการหล่อเรซินจะทำให้สามารถจับตัวอย่างที่มีขนาดเล็กแล้วนำไปตัดตัวอย่างด้วยเครื่อง Ultramicrotome ได้ โดยการหล่อเรซินจำเป็นจะต้องมีแม่พิมพ์ ซึ่งแบบที่ใช้กันทั่วๆไป มี 2 แบบ คือ
1. Flat mold เป็นแม่พิมพ์แบบแบน ส่วนใหญ่ทำจากยาง แม่พิมพ์แบบนี้มีข้อดีคือ ใช้พลาสติกน้อย สามารถจัดวางเนื้อเยื่อในแนวที่ต้องการได้ (orientate) และแม่พิมพ์แบบนี้ใช้ได้หลายครั้งจนกว่ายางจะเสื่อม แต่มีข้อเสียคือ แท่งพลาสติกที่ได้จะมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม การตัด section อาจเกิดปัญหาจากการจับแท่งพลาสติกได้ไม่แน่น เพราะ holder จะจับแท่งพลาสติกเพียง 2 ด้าน ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน (vibration) ได้ง่ายในขณะตัด
2. Beem capsules เป็นลักษณะแบบแคปซูลยา แม่พิมพ์แบบนี้มีข้อดี คือ แท่งพลาสติกที่ได้จะเป็นแท่งกลม ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการตัด section เพราะ holder จับแท่งพลาสติกได้รอบด้าน ส่วนข้อเสียคือ ต้องใช้พลาสติกมากกว่า ไม่สามารถจัดวางตัวอย่างตามแนวที่ต้องการได้ และใช้ได้ครั้งเดียวเพราะต้องผ่าแคปซูลเพื่อแท่งพลาสติกออก
หลักจาก embed แล้วนำแม่พิมพ์อบในตู้อบ โดยที่การตั้งอุณหภูมิและเวลาขึ้นอยู่กับสูตร embedding media แต่ละชนิด สำหรับ Spurr’s resin อบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน 8 ชั่วโมง ขั้นตอนการอบนี้เรียกว่า Polymerization เป็นการเพิ่มอุณหภูมิทำให้สารพลาสติกเหลว เกิดเป็น Polymer และแข็งขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปตัดเป็นแผ่นบางในขั้นตอนต่อไปได้
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ชื้นก็มีผลมาก
- ใหม่กว่า » การล้าง Grid
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้